ประวัตินางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา ถวายวัดบุพพาราม ถวายผ้าอาบน้ำฝน

ประวัตินางวิสาขา

นางวิสาขา  เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อ ธนญชัย มารดาชื่อว่า สุมนาเทวี และปู่ชื่อ เมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุ อยู่ในวัย ๗ ขวบ เป็นที่รักดุจแก้วตาดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก

เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวนมากกำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้ เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยบถอยู่นั้น เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด ส่วนเมณฑกเศรษฐีเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนตลอดระยะเวลา ๑๕ วัน ที่ประทับอยู่ภัททิยนครนั้น

ตระกูลธนญชัยเศรษฐี ย้ายไปอยู่เมืองสาวัตถี

สมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤท์ มีความเกี่ยวข้องกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากในเมืองสาวัตถี ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากมาย และได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติจำนวนนับไม่ถ้วนอยู่ถึง ๕ ตระกูล ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้งความประสงค์ เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ ไปอยู่เมืองสาวัตถีสักหนึ่งตระกูลพระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า “การโยกย้ายตระกูลใหญ่ๆ เพียงตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด” แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลักจากที่ได้ปรึกษาอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายเดินทางสู่พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล และ

ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธณญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดีอีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้างเมืองลง ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่ “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์

หญิงงามเบญจกัลยาณี

ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงานเบญจกัลลยาณีความงามของสตรี ๕ อย่างคือ

๑.เกสกลฺยาณํ ผมงามคือหญิงผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น

๒.มงฺสกลฺยาณํ เนื้องามคือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี

๓.อฎฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน

๔.ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา

๕. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่ายกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว

บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพรามหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถึลักษณะมาถามว่า หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพรามหณ์ตอบว่า มี จึงส่งพรามหณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่างๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม

พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่างๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมืองสาเกต ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ ขณะที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พวกพราหมณ์ ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึงถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนหญิงอื่นๆ” นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งามได้แก่

๑.พระราชาผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ

๒.บรรพชิตผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์

๓.สตรีผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลายนอกจากจะไม่ดูงานแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุจนเสียโฉมหรือพิการจะทำให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า

๔.ช้างมงคลตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง

พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาณฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกอย่างประการแล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาชาเป็นการหมายหมั้นหมายและกำหนดวันวิวาหมงคล ธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ “มหาลดาปสาธน์” เพื่อมอบให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฎิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่นๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่างๆ รวมทั้งข้าทาสบริวาร และฝูงโคอีก จำนวนมากมายมหาศาลอีกทั้งส่งกฎุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่างๆ ไป เป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย

ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว

ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐี ได้อบรมมารยาทสมบัติของ กุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการเป็นแนวปฎิบัติ คือ

โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง

โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง

โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วแล้วนำมาส่งคืน

โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่ คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่นำส่งคืน

โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืนก็ควรให้

โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามี

โอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวและสามี

โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภคแล้วตนจึงบริโภคภายหลัง

โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอ ว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมืองกองไฟและพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล

โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม

ธนณชัยเศรษฐี ให้เวลาถึง ๔ เดือนในการเตรียมทรัพย์สมบัติเพื่อมอบให้แก่นางวิสาขา สำหรับใช้สอยเมื่อไปอยู่ในตระกูลของสามี เฉพาะเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์เพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลาทำถึง ๔ เดือนเช่นกัน เมื่อถึงกำหนดนางวิสาขาได้ออกเดินทางไปยังตระกูลของสามี พร้อมด้วยข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองของใช้อเนกอนันต์ และโคกระบืออีกมายมายมหาศาลที่บิดาจัดการมอบให้แม้กระนั้น โคกระบือที่อยู่ในคอกยังทำลายคอกวิ่งออกตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก

ทั้งนี้ด้วยอานิสงฆ์แห่งการทำบุญถวายทานที่นางทำไว้ในอดีตชาติ คือในครั้งที่นางวิสาขาเดิมเป็นธิดาของพระกิกิ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ นางได้ถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรเป็นประจำ และทั้งๆ ที่พระภิกษุสามเณรกล่าวว่า “พอแล้วๆ” ก็ยังตรัสว่า “พระคุณเจ้าสิ่งนี้อร่อย สิ่งนี้น่าฉัน” แล้วก็ถวามเพิ่มขึ้นอีก ด้วยอนิสงส์แห่งการถวายเพิ่มนี้ บันดาลให้โคเหล่านั้นแม้จะมีคนห้ามมีคอกกั้นอยู่ก็ยังโดดออกจากคอกวิ่งตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก

เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกูลของสามีแล้วเพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้ำใจเจรจาไพเราะ ให้ความเครพผู้ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐีพ่อของสามีซึ่งมีจิตฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเครพนับถือว่า เป็นพระอรหันต์ และนิมนต์ให้มาบริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขามาไหว้พระอรหันต์และให้มาช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วย

นางวิสาขา ผู้เป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบัน พอได้ยินค่ำว่า อรหันต์ ก็รู้สึกปีติยินดีมายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจจึงกล่าวว่า “ผู้ไม่มีความละอาย เหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้” พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่อยู่ของตนต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอยปรนนิบัติอยู่ใกล้ๆ

ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมาหยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคารเศรษฐี นางวิสาขาทราบดีว่าเศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทำเป็นไม่เห็นนางจึงกล่าวกับพระเถระว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่”

เศรษฐีได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันทีแล้วสั่งให้บริวารมาจับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับนางวิสาขาขอชี้แจงแก่กฎุมพีมาแล้วแจ้งโทษของนางวิสาขาให้ฟัง ซึ่งนางก็แก้ด้วยคำว่า “ที่ดิฉันกล่าวอย่างนั้น หมายถึง มิคารเศรษฐีบิดาของสามีกำลังบริโภคบุญเก่าอยู่ มิใช่บริโภคของบูดเน่าอย่างที่เข้าใจ” กฎุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า “เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด”

พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา

เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคำชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเครือง และกล่าวขอโทษนาง พร้อมทั้งอนุญาติให้นางนิมต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตในเรืองของตน ขณะที่นางวิสาขาจัดถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดา และภิกษุสงฆ์อยู่นั้น ก็ได้ให้คนไปเชิญมิคารเศรษฐีมาร่วมถวายภัตตาหารด้วย แต่เศรษฐีเมื่อมาแล้วไม่กล้าที่ออกไปสู่ที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงแอบนั่นอยู่หลังม่าน

เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาศได้ฟังธรรมด้วยจนจบ และได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลในพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลตั้งแต่นั้น มิคารเศรษฐีได้ออกมาจากหลังม่านแล้วตรงเข้าไปหานางวิสาขาให้ปากดูดถันของลูกสะใภ้ และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า” และตั้งแต่นั้นมานางวิสาขาก็ได้นามว่า “มิคามารดา” คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า “วิสาขามิคารมารดา”

คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา

ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่นๆ หลายประการเช่น

๑.ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขานางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน หลาน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั้นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน

๒.นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะทดลอกกำลังของนาง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นางเห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า “ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาปควรจะรักษาชีวิตช้างไว้ดีกว่า” นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่งวงแล้วเหวี่ยวไปปรากฎว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตรายด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อขจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพากันเชิญนางวิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพิธีต่างๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทานก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฎิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตน ต้องมอบให้ลูกๆ หลานๆ ดำเนินการให้

นางวิสาขาสร้างวัด

โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำจนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่าๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุกๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัดนางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่า “ถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย”

เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริงๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนแล้วนำมาออกขาย ในราคา ๙ โกฎิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง

ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดาและเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดาสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการสร้าง

ภายในวัดประกอบด้วย ๒ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุอาศัย ชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาการก่อสร้างถึง ๙เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้วได้นามว่า พระวิหารบุพพาราม”

นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็น มหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฎฐายิกา ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่างๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวายเป็นของส่วนบุคคลคือแก่พระภิกษุแต่ละองค์ๆ การทำบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ดังคำที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวิหาร คือ วัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวายนั้นด้วยคำว่า “ความปรารภนาใดๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้นๆ ทั้งหมดของเราได้สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้วความปรารถนาเหล่านั้นคือ”

๑.ความปราถนาที่จะ สร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน

๒.ความปราถนาที่จะ ถวายเตียงตั่งฟูกหมอนและเสนาสนภัณฑ์

๓.ความปราถนาที่จะ ถวายสลากภัตเป็นโภชนาทาน

๔.ความปราถนาที่จะ ถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็น จีวรทาน

๕.ความปราถนาที่จะ ถวายเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นเภสัชทาน

ความปราถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสำเร็จครบถ้วนทุกประการสร้างความอิ่มเอิบใจแก่นางยิ่งนักนางจึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขาแล้วต่างก็รู้สึกประหลาดใจไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนางจึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานานพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เคยเห็นนางขับร้องเพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อนเลย แต่วันนี้ นางอยู่ในท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดาบุตรธิดาและหลานๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพำคล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดีของนางคงจะกำเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไรพระเจ้าข้า?”

พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุท้้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลงหรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจหลอก แต่ที่ธิดาของเราเป็นอย่างนั้นก็เพราะความปิติยินดีที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ทุกประการนางจึงเดินเปล่งอุทานออกมาด้วยความอิ่มเอมใจด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก” ดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางในตำแหน่ง “เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา”

ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ

ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ

  1. เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งหมด 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวกทั้งหมด
  2. เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุณี มีทั้งหมด 13 ท่าน
  3. เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสกมีทั้งหมด 10 ท่าน
  4. เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสิกามีทั้งหมด 10 ท่าน

พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเอตทัคคะ

พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน)
พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงปฏิภาณ (ญาณแจ่มแจ้งในพระพุทธศาสนา)
พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีโรคาพยาธน้อย
พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางผู้สัทธาธิมุต(หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา)
พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุบริษัท
พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบในหมู่ชนทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ
พระขทิรวนิยเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางผู้อรณวิหาร(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา)และทักขิไณยบุคคล
พระพาหิยทารุจีริยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา (ตรัสรู้เร็วพลัน)
พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญาปฏิภาณฉลาดในการผูกเป็นบทบาทคาถา
พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาณสมบัติ
พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นปฐม
พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
พระมหาโกฎฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ฉลาดในเตโชกสิณสมาบัติ
พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ

พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
พระมหาเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
พระมหาอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
พระมหาปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
พระมหานันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ยินดีในฌาน
พระมหาธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
พระมหาโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
พระมหาสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
พระมหาภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
พระมหาภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้)
พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา) เอตทัคคะในฝ่าย ผู้บรรลุมหาภิญญา
พระมหากีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระมหาสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ

ตปุสสะและภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
หัตถกอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
พระเจ้ามหานามะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายปัจจัย ๔ อันประณีต
อุคคคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
อุคคตคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
สูรัมพัฏฐเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง
ชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะในฝ่ายเป็นที่รักของปวงชน
นกุลปิตาคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า
อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ[แก้]

อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ

นางสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต
นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
นางอุตตรา (นันทมาตา) เอตทัคคะในฝ่ายผู้ยินดีในฌาน
นางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายรสอันประณีต
นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) เอตทะคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม
นางนกุลมาตาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

อ้างอิง

  • ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์ , 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), สำนักพิมพ์ธรรมสภา ISBN 974-7276-30-5
  1. กระโดดขึ้น ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 1,433. ISBN 978-616-7073-56-9

ประวัติอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ประวัติอนาถบิณฑิกเศรษฐี

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อ ว่า “สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา เมื่อบิดามารดาของท่านล่วงลับไปแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีแทนให้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั่งประชาชน ทั่วไป เรียกท่านตามลักษณะนิสัยว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งหมายถึง “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา” และได้เรียกกันต่อมาจนบางคนก็ลืมชื่อเดิมของท่านไปเลย ท่านอนาถบิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์ นามว่า “ราชคหกะ” และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้นโดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถบิณฑิกะ นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคฤหเศรษฐีผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและพี่เมียอยู่เป็นประจำ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกเศรษฐี ได้กราบทูลอารธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายเพื่อฉันภัตตาหารที่เรีอนของตนในวันรุ่งขึ้น ราชคหกเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฎิสันถารต้อนรับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศรัยเล็กน้อยเท่านั้นแล้วก็สั่งงานต่อไปแม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ราชคหกเศรษฐี คงจะมีงานบูชายันต์หรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ่งนี้” เมื่อการสั่งการเสร็จ ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสงสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตรที่เรีอนของตนในวันพรุ่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนั้นที่จะได้ยินในโลกนี้

เมื่อราชหคกเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปิติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันทีนั้น แต่ราชคหกเศรษฐียับยั้งไว้ว่า มิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกเศรษฐี ได้ฟัง อนุปุพพิกถา และอริยสัจสี่ จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาประกาศตนเป็น “อุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต

อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวัดถวาย

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสด็จภัตตากิจแล้วก็ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนายังเมืองสาวัตถึ พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวาย พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูลอนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปราบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับกรุงสาวัตถีโดยด่วน

ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุกๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอชื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ที่ต้องการ

ปรากฎว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฎิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฎิเป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฎิ (หนึ่งโกฎิ เท่ากับ ๑๐ ล้านบาท) แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอารามขณะนั้น เจ้าชาติเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูอารามา ดั้งนั้พระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”

เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว

เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่งว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูปไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาลอนาถบิณฑิกเศรษฐีทำบุญโดยทำนองนี้ทั้งให้ทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ

ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฐิซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมือเห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎกายต่อหน้าเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิดแล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะเพิ่มพูนขึ้น เหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่าท่านเป็นใคร “ข้าพเจ้า เป็นเทวดาสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน” “ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่านจงออกไปจากซุ้มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”

เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ้มประตูเรืองของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่ออกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน ๘๐ โกฎิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจบหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้” เทวดาทำตามนั้น

ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไปต้นแบบ การทำบุญอุทิศให้ผู้ตายพุทธบริษัทผู้ใผ่บุญนั้น

“นี่แหละคฤหบดี ธรรมดาบุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตามถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดี ปฎิบัติชอบก็ย่อมเสวยสุขบันเทิงใจทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้ความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทนเมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้มีศรัทธามั่งคงไม่หวั่นไหว ฝั่กใฝ่ในการทำบุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่ง เอกทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายก

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เอกทัคคะ เป็น ผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายก

Ref. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

อนาถบิณฑิกคหบดีถวายพระเชตวนาราม

[๒๖๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนคร
สาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี
เขตพระนครสาวัตถีนั้น จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระ
ผู้มีพระภาค พร้อมกับภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยใน-
*วันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดี
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณ
กลับไป ฯ
[๒๗๐] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนี-
*ยาหารอันประณีต โดยล่วงราตรีนั้น แล้วสั่งให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระ
ภาคว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค
ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี
ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิก
คหบดี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอัน-
*ประณีตด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตร
แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธ
เจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คหบดี ถ้าเช่นนั้น
เธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา อนาถบิณฑิก
คหบดีรับสนองพระพุทธบัญชาแล้วได้ถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มา
แล้วและยังไม่มา
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วยคาถา
เหล่านี้ ว่าดังนี้:-

คาถาอนุโมทนาวิหารทาน
[๒๗๑]	วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อนและเนื้อร้าย นอกจากนั้นป้องกันงู
        และยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้น วิหารยังป้อง-
        *กันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อ
        หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง
        พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล
        คนผู้ฉลาดเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์
        ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตอยู่ในวิหารเถิด อนึ่ง พึงมีน้ำใจเลื่อมใส
        ถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะอันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก
        เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรม อันเป็นเครื่อง
        บรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา อันเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ
        ปรินิพพานในโลกนี้
        
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา อนาถบิณฑิกคหบดีด้วยพระ
คาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป ฯ

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 2

 

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 3

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 4

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

อนาถบิณฑิกเศรษฐี

ขออนุโมธนา ผลบุญกุศล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ได้สร้างวัดเชตวนาราม และทำบุญกุศลทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ ตลอดกาลอนาถบิณฑิกเศรษฐี สาธุ สาธุ สาธุ

อจลเจดีย์ จำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รอยพระพุทธบาท ตักบาตรเทโว

ปฐมสมโพธิลำดับการเสร็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า “ในพรรษาที่ ๗ (นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ตามนิยามท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่น ยุคหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่เรียกกันว่า “อรรถกถา” กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธเจ้าเสร็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ มีผู้แปลกันว่า ได้แก่ ต้นทองหลางผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้านผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์”

พระอินทร์ได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสร็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ทรงป่าวประกาศหมู่เทพยดา ให้มาร่วมชุมนุม ฟังธรรมพระพุทธเจ้า

ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีหมื่นโยชน์ เทพเจ้าทั้งปวดได้สดับก็บังเกิดโสมนัสพิศวง ทรงบอกกันต่อ ถึงหมื่นจักรวาล แม้พระนางสิริมหายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควรอุปนิสัยแห่งตน

พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภายหลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าว เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จคือวันออกพรรษา เมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น

ต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า “อจลเจดีย์” เรียกอย่างไทยเราก็ว่า “รอยพระพุทธบาท” ตามตำนานว่าที่นี่เป็นที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้าคือพระอินทร์ ได้เนรมิตบันได ๓ บันไดเป็นที่เสด็จลง คือ บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้วมณี บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา บันไดเงินอยู่ด้านซ้าย สำหรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้าหัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร หมู่เทพที่ตามส่งเสด็จอยู่ทางเบื้องขวา

ท้าวมหาพรหมผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าอยู่เบื้องซ้าย ผู้อุ้มบาตร นำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์ ปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตรถือพิญบรรเลงมาตุลีเทพบุตร ถือพานดอกไม้ทิพย์โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน

คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่าออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำบุญตักบาตรกันในวันนี้ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกการตักบาตรนี้ว่า “ตักบาตรเทโว” ย่อมาจากเทโวโรหณะ แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเอง

วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฎิหาริย์ อีกครั้งหนึ่ง คือขณะที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตร ไปทางทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมโลกก็เปิดมองเห็นโล่ง ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล

วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่า “พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก” โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก

เทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น
มนุษย์โลก  หมายถึง โลกมนุษย์
ยมโลก หมายถึงทางเบื้องตำ่ คือนรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก

พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่างโล่งขึ้นไปถึงเทวโลก เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตรลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม

ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดาเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่

คัมภีร์ธรรมบท ที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า “วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน” ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า “ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด” (พุทธภูมิ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า)

พุทธประวัติพระพุทธเจ้า HD ตอน๑๐ โปรดพุทธบิดาและพุทธมารดา uddha HD Thus have I Head

พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

นครสาวัตถี วัดเชตวนาราม สถานที่ยมกปาฎิหาร

นครสาวัตถี วัดเชตวนาราม สถานที่ยมกปาฎิหาร

การเดินทางโดยรถ จากพาราณาสีสุ่นครสาวัตถี ระยะทางประมาณ ๒๓๒ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๗-๘ ชั่วโมง

ปัจจุบัน สาวัตถีเหลือแต่ซากสลักหักพัง ตั้งอยู่บนที่ลุ่มใกล้แม่น้ำอจิรวดี ปัจจุบันเรียกว่า สาเหตุ-มาเหตุ อยู่ในเขตจังหวัดบาห์ไรจ์ รัฐอุตตรประเทศ สภาพโดยทั่วไปมีกำแพงล้อมรอบ ลักษณะ เหมือนแตงโมผ่าครึ่ง โดยด้านกว้างระนาบไปกับสายน้ำอจิรวดี (ปัจจุบันเรียก แม่น้ำราปติ Rapati) สภาพนอกเมืองเป็นแหล่ง ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ราชวังเดิมอยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำอจิรวดีดับพระเชตวัน สาวัตถีเป็นเพียงราวป่ากลางทุ่งนา โดยมีหมู่บ้านสามสี่หมู่บ้าน เรียงรายไปตามสายน้ำ ผ่านเมืองบาลรัมปุระ (Balrampur) ไปทางสาวัตถี ๑๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลัคเนาว์ (Lucknow) ๑๓๔ กิโลเมตร และห่างจากเมืองโครักปูร์ (Gorakpu) ๑๘๕ กิโลเมตร ภายในเชตตะวันมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ มีรั้วรอบขอบชิด รัฐบาลได้ขุดค้นสำรวจพบซากกุฎิวิหารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็นอยู่ของพระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตเรื่อยมา

จนมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ถูกพวกมุสลิม ทำลายจนหมดสิ้นเหลือแต่ซาก เส้นทางเดินไปทัศนศึกษาในเขตพุทธสถาน ธรรมศาลา กุฎีสงฆ์ บ่อน้ำ อานันทโพธิ์ ต้นไม้ศักดิ์ที่มีอายุสืบทอดมาจากครั้งพุทธกาล ลำต้น ใหญ่ ใบหนาแน่นให้ร่มเงาแก่สรรพสัตว์ได้เข้าพักอาศัย อยู่ตรงหน้าพระอุโบสถพอดี ท่านพระโมคคัลลาน์เหาะเหินเดินอากาศไปนำต้นอ่อนมาจากต้นโพธิ์ที่พุทธคยา อนาถปิณฑกเศรษฐีทำพิธีปลูก

พระพุทธองค์ทรงประทับสมาธิใต้ต้นโพธิ์นี้หนึ่งคืน เป็นที่เครพบูชาของชาวพุทธเมืองสาวัตถี แต่นั้นมา ที่เห็นเป็นซากอิฐสีแดงๆ ก่อเรียงราย เป็นของทำขึ้นใหม่ต่อจากแผนผังเดิม ในส่วนกลางพุทธสถานจะเป็นมูลคันธกุฎี ที่ประทับจำพรรษากาลของพระพุทธองค์เป็นจุดเด่น มีเจดีย์องค์น้อยเป็นจุดสนใจเพื่อน้อมสักการบูชา ส่วนด้านหน้าของมูลคันธกุฎีเป็นธรรมศาลา ติดกับพระเชตวันมีศูนย์ปฎิบัติธรรมแดนมหามงคลของอุบาสิกาบงกช ได้ซื้อที่ดินล้อมรอบอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของพระเชตวัน ทางทิศตะวันออกติดถนนเส้นทางไปสู่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกะและบ้านพราหมณ์ปุโรหิตพ่อขององคุลีมาล อยู่ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร มีวัดพม่าและวัดศรีลังกาอยู่ตรงทางเข้าพระเชตวัน ภายในกลุ่มราวป่ามีเส้นทางตัดตรงไป เป็นเขตกำแพงมหานครสาวัตถี มีต้นไม้ ใหญ่น้อย ปกคลุมหมด มีสิ่งที่ควรเยี่ยมชมคือบ้านขององคุลีมาล เห็นเป็นเพียงเนินดินสูงๆ และบ้านของอนาถบิณฑิกะ

สาวัตถีครั้งพุทธกาล

สาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นผู้ปกครองเมือง พระพุทธองค์ประทับอยู่นานกว่าที่แห่งใด รวม ๒๕ พรรษา คือ ที่พระเชตวันมหาวิหาร อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา ประทับอยู่ที่บุพพาราม ของนางวิสาขาสร้างถวาย ๖ พรรษา พระเชตวันมหาวิหาร อยู่นอกนครสาวัตถี อยู่ใกล้ประตูเมืองทางทิศใต้ เป็นที่อนาปิณฑิกะ ได้ชื้อจากเจ้าชายเชต ถวายแก่พระพุทธองค์ เมื่อตรัสรู้แล้วได้ ๓ ปี

ส่วนบุพพารามนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย อยู่ทางทิศตะวันออก ของเมืองสาวัตถีเหตุที่พระองค์เสด็จเมืองสาวัตถี สมัยหนึ่งท่านอนาถปิณฑิกะได้เดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ ได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ที่สีตวันและได้บรรลุพระโสดาบัน จึงได้กราบทูลเสด็จเพื่อโปรดชาวเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์ทรงรับด้วยอาการสงบ ท่านอนาถปิณฑิกะทำการค้าเสร็จเดินทางกลับเมืองสาวัตถี รีบหาซื้อที่ดินเพื่อสร้างถวายแด่พระพุทธองค์ หามาหลายแห่งแต่ไม่ถูกใจ มาติดใจในที่ดินของเจ้าชายเชต เห็นว่าไม่ไกลจากจากเมืองสาวัตถี และที่อยู่ของเขามากนัก เป็นสถานที่สงบเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรม จึงได้ติดต่อของซื้อที่ แต่เจ้าชายเชตมิได้เต็มใจที่จะขายให้จึงแกล้งพูดไปว่า ถ้าท่านต้องการก็จอเอาเงินมาปูลาดที่ดินเอาไปก็แล้วกัน

เศรษฐีดีใจมากที่เจ้าชายเชตพูดอย่างนั้น เศรษฐีรีบสั่งให้คนดูแลทรัพย์สมบัติเปิดคลังสมบัติและนำเงินใส่เกวียนไปปูลาดยังที่แห่งนั้น เจ้าชายเห็นท่านอนาถปิณฑิกะผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาทำดังนั้น จึงขอร่วมทำบุญด้วยส่วนหนึ่ง ดั้งนั้นวัดแห่งนี้จึงมีชื่อเชตร่วมอยู่ด้วยว่า “วัดเชตวันมหาวิหาร”

สถานที่ยมกปาฎิหาริย์

สถานที่ยมกปาฎิหาริย์ อยู่ไม่ไกลจากวัดเชตวันมากนัก ปัจจุบันเป็นเนินดินใหญ่สูงประมาณ ๙๐ ฟุต ลักษณะคลายกับเจดีย์ที่บ้านนางสุชาดา รัฐบาลอินเดียได้กันลวดหนามเอาไว้มีประตูเปิดปิดเข้าออก บนยอดสุดมีร่องรอยการขุดค้นและแต่งเติมบางส่วน พวกเราสามารถขึ้นไปชมวิวบนยอดเจดีย์ จะมองเห็นความสวยงามของเมืองสาวัตถีได้อย่างทั่วถึง

ยมก แปลว่า คู่ หรือ สอง ยมกปาฎิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้าเปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระการเบื่องล่าง เป็นต้น

ยมกปาฎิหาริย์ แสดงได้แต่ผู้เดียว คือผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันสาวก และเดียรถีย์ ฤาษีชีไพร แสดงได้ปาฎิหาริย์ธรรมดา เช่น เดินบนน้ำ ดำเดิน เป็นต้น

สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปฎิหาริย์ครั้งนี้ คือที่โคนต้นมะม่วง หรือ คัณฑามพฤกษ์ ในเมืองสาวัตถี มูลเหตุที่ทรงแสดงเนื่องจากพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธเจ้าแข่งแสดงปาฎิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน พวกเดียรถีย์ ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงยมปฎิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วง จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น ทราบว่าบ้านใครสวนใครมีต้นมะม่วงก็ใช้อิทธิพลทางการเงิน ซื้อ แล้วโค่นทำลายหมด แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำลายไม่เหลือ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้

โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุกมาถวาย ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ปรากฎว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพลาด แตกกิ่งก้างสูงขึ้นถึง ๕๐ ศอก ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า “เมื่อทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ แล้ว ทรงเสร็จจำพรรษา ณ ที่ใดก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา”

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

สาวัตถี พุทธจักรไทยในแดนพุทธภูมิ

อริยทัศน์ อินเดีย : ยมกปาฏิหาริย์ ปราบทิฎฐิที่สาวัตถี

 

ขออนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ กับผู้ทำวีดีโอ ลง Youtube

อนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.WatMahabodhi.Com  / http://www.Thamma.Org

 

 

 

 

เมืองพาราณสี เมือง ๗ ม.

เมืองพาราณสี เมือง ๗ ม.

เมืองพาราณสี เมือง ๗ ม.

๑ ม.เมือง ๒ ม.แม่น้ำ ๓.ม.ไหม ๔ ม.หมาก ๕ ม.มหาลัย ๖.ม.มรณะ ๗.ม.มฤคทายวัน  มีความหมายดังนี้

๑ ม.เมือง เป็นเมืองเก่าแก่ในอดีต และไม่เคยเปลี่ยนแปลง เมืองพาราณสี เป็นศูนย์กลางของ ศาสนาฮินดู และเป็นเมืองหลวงของแค้วนกาสี คำว่า “พาราณสี มาจากคำว่า วรณา และ อสี ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำ” เพราะเมืองพาราณสีตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายนี้ สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย เคยเปลี่ยนเป็น เบนนารัส แต่ชาวอินเดียก็ยังคงเรียกว่า พาราณสี

๒ ม.แม่น้ำ คือ แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของฮินดู คือ แม่น้ำคงคาซึ่งมีความยาวเป็นอันดับสองของแม่น้ำในประเทศอินเดียมีความยาว ๒,๕๑๐ กิโลเมตร รองจากแม่น้ำพรหมบุตร ที่มีความยาว ๕,๙๐๐ กิโลเมตร ชาวฮินดูมีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า แม่น้ำคงคาสามารถชำระล้างปาบได้ ในแต่ละวันจะมีผู้คนอาบน้ำมาทำพิธีเป็นจำนวนพัน ตั้งแต่เช้าจนมืดค่ำ แม่น้ำคงคานี้ มีท่าที่ใช้สำหรับเผาศพ ทั้งหมด ๘๔ ท่า แต่ท่าน้ำมีผู้คนนิยมใช้มากที่สุดมี ๕ ท่าน้ำ คือ ท่าอัสสี ท่าทสอัศวเมธ ท่าบาร์นะสังคม ท่าปัญจคงคา และท่ามณิกรรณิกา ในแต่ละวันจะมีการเผาศพ ไม่น้อยกว่า ๗๐ ศพ (ท่ามณิกรรณิกา และท่าหริจันทร์) เวลามีคนตายเขาจะเอาศพใส่แค่ทำด้วยไม้หยาบๆ ห่อด้วยผ้าสีต่างๆกัน ศพผู้ชายห่อด้วยผ้าสีขาว หญิงสาวหรือหม้ายจะห่อด้วยผ้าสีแดง ส่วนผู้ที่มีสามีห่อด้วยผ้าสีต่างๆ ผู้ชายจะเป็นผู้นำไป มีเสียงกลองและร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า “รามะ นามะ สัตยะแฮ หรือ รามราม สัตยะ นามแฮ” โดยมีผู้กล่าวว่าไฟที่เผาศพบริเวณ ริมฝั่งคงคา ยังไม่เคยดับเลยเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว

๓. ม.ไหม  ผ้าไหมกาสี ชื่อว่าเป็นผ้าไหมเนื้อดีและแพงที่สุด แหล่งผลิตอยู่ที่เมืองพาราณสี สำหรับมหาราชา และมหาเศษฐีเท่านั้น ที่มีสิทธิ์ใช้ผ้ากาสี

ถ้าต้องการรู้ว่าผ้านั้นของแท้หรือของปลอม ให้เอา เอาผ้านั้นสอดเข้าไปในแหวนจะผ่านได้โดยง่าย ปัจจุบันหาซื้อได้ที่เมืองพาราณสี

๔. ม. หมาก ที่เมืองพาราณสีจะผลิตหมากเป็นแพ็คเกจ ห่อละ ๑ บาท ถึง ๕ บาท ที่มีรสชาติที่ดีมาก ส่งขายทั่วประเทศ

๕. ม. มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพาราณสี (ฺBenaras Hindu University) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ประมาณ ๒,๐๐๐ เอเคอร์ ผู้ก่อตั้งคือ บัณทิต มะดัน โมหัน มาลทวิยะ กับ สตรีชาวไอริช โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอินเดีย เปิดการสอนในปี  ค.ศ.๑๙๐๔ มีสาขาวิชาที่เรียนมากกว่า ๔๒ วิชา ในแต่ละปีมีพระภิกษุชาวไทยและนักศึกษาจากชาติต่างๆ มาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

๖. ม. มรณะโรงแรม มีแห่งเดียวในโลกที่มีโรงแรมรอความตาย อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ตลอดจนบ้านของพระราชามหากษัตริย์มาสร้างอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาและสร้างท่า ๘๐ กว่าท่าสำหรับอาบน้ำเป็นจำนวนมากมาย เพราะมีความเชื่อว่า เกิดมาชาติหนึ่งขอให้มีโอกาศได้อาบน้ำในแม่น้ำคงคาสักครั้งและเมื่อตายขอให้ได้เผา ณ ริมคงคาแห่งนี้ วิญญารณก็จะได้ขึ้นสวรรค์

๗. ม. มฤคทายวัน เป็นสถานที่แสดงพระธรรมจักปัปวัตตนสูตร (ปฐมเทศนา) ของพระพุทธเจ้าเป็นสถานที่สำคัญ หนึ่งในสี่ของสังเวชนียสถานที่เราควรทัศนา

เสาศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช ป่าอิสิปตนมฤทายวัน

เสาศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช ป่าอิสิปตนมฤทายวัน

พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จยังป่าอิสิปตนมฤทายวัน  เพื่อกราบสักการบูชาสถาน ที่ที่มีความสำคัญต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ปักเสาศิลาจารึกไว้สูงประมาณ ๗๐ ฟุต เสาศิลาจารึก มีลักษณะเป็นมันเลื่อมและเรียบ มีรัศมีต้องตาต้องใจเมื่อได้พบเห็น เสาศิลาอันเป็นเครื่องหมายที่สำคัญยิ่งนี้เป็นการยืนยันว่า สถานที่ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พระอริยสัจจ์เพื่อยังวงล้อแห่งพระธรรมให้หมุนไปนั้นเอง ที่หลักศิลามีการจารึกข้อความเป็นอักษรพราหมณ์มี สิ่งที่สำคัญที่สุดบนยอดเสาศิลาคือ หัวสิงห์ ซึ่งปัจจุบันได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองสารนารถแล้ว และยังอยู่ในสภาพ ที่ดีมาก มีรูปสิงห์โตแกะสลัก ๔ หัว นั่งหันหลังชนกันสภาพเดิมนั้น มีรูปธรรมจักรเอาไว้ด้วย แต่น่าเสียดายว่า รูปธรรมจักรหักหล่น หาเศษได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่สามารถประกอบเข้าเป็นรูปธรรมจักรอยู่ครบทั้ง ๔ ด้านซึ่ง รูปกงล้อๆ ละ ๒๔ ซี่ เท่ากับจำนวนปฎิจจสมุปบาท (เกิด-ดับ)  ในระหว่างรูปธรรมจักรทั้ง ๔ มีรูปสัตว์ ๔ ชนิด คือ ช้าง โค ม้า สิงห์โต หลังจากที่ อินเดียได้รับเอกราชกลับคืนมาจากอังกฤษแล้ว ได้ใช้ตราธรรมจักรนี้เป็นตราแผ่นดิน ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ถูกเก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ รวมทั้งพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากและพระพุทธรูปปางอื่นๆ อีกมากมายเก็บเอาไว้ในที่แห่งนี้

เสาศิลาจารึก

ธรรมราชิกสถูป พาราณสี

ธรรมราชิกสถูป พาราณสี

ธรรมราชิกสถูป พาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ธรรมราชิกสถูป มีลักษณะเป็นสถูป สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชควบคู่กับเสาศิลาหัวสิงห์ที่เด่น สง่างามที่สุด ซึ่งรัฐบาลอินเดียใช้ตราหัวสิ่งห์เป็นตราเงินสกุลรูปี ส่วนเครื่องหมายสัญลักษณ์ตราธรรมจักรที่อยู่บนหัวสิงห์ ใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน

พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุด

พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบได้ในบริเวณนี้ ลักษณะเดินนั้นเป็นทรง บาตรคว่ำเหมือนธรรมเมกขะสถูป ที่เห็นในปัจจุบัน สร้างด้วยอิฐบล็อกแดง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

แต่น่าเสียดายว่าปัจจุบันนี้เหลืออยู่เพียงแค่ฐานเท่านั้นเอง ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๗ ชาคัด สิงห์ มหาอำมาตย์ของ มหาราช เชตสิงห์ ผู้ครองนครพาราณสี ต้องการอิฐก้อนใหญ่ๆ ไปก่อสร้างเมือง จึงทำลายองค์สถูปใหญ่นี้

ในขณะนั้นได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และได้นำไปลอยในแม่น้ำคงคา ด้วยความปรารถนาดีแท้ๆ เพราะเกรงว่า พระพุทธเจ้าจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ อันเป็นความเชื่อของศาสนาฮินดู ด้วยคิด ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปลอยลงแม่น้ำคงคา ทำให้ข่าวนี้เลื่องลือ ไปทั่วทุกหัวเมือง และได้นำความเศล้า สลดใจ มาสู่พุทธศานิกชน เป็นอย่างมาก

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี ตามที่นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ทาง ศาสนา ได้วินิฉัยเอาไว้ว่า

“เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งแสดงธรรม และเป็นเครื่องหมายแสดงการเสด็จมาอุบัติของพระพุทธเจ้าในอนาคต ซึ่งแปลว่า ที่ตั้งแห่งความเห็นธรรม หรือ มีธรรมเป็นใหญ่”

เมื่อเดือนมกราคา พ.ศ.๒๓๓๗ (ค.ศ.๑๗๙๔) ได้มีการขุดค้นครั้งล่าสุด และได้สร้างสถูปใหม่ขึ้น คือ ธรรมเมกขะสถูป เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ รวมใช้เวลาในการก่อสร้าง ๕๖ ปี มีความสูง ๑๔๓ ฟุต กว้างโดยรอบ ๙๕ ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๗.๕ ฟุต ส่วนพื้นล่างก่อ ด้วยหินอย่างแข็งแรง และแกะเป็นรูปสวัสดิกะอยู่โดยรอบ สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องรอบองค์สถูป มีทั้งหมด ๘ ช่อง แต่ละช่องมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานไว้

จากจดหมาย เหตุของหลวงจีนพระถังชัมจั๋ง ยืนยันว่า เมื่อท่านเดินทางมาบูชาพระสถูปแห่งนี้

“ท่านได้เห็นพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ทุกช่อง มีสถูปใหญ่อยู่ ๔ องค์ และมีวิหารอยู่ ๒ หลัง”

เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๕๗ พันเอกแมคเคนซี นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับ นักโบราณคดีชาวอินเดียหลายคน ลงมือขุดค้นปูชนียสถานที่สำคัญก่อน คือ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง พันเอกแมคเคซี เป็นนักสำรวจคนแรกและได้ทำเครื่องหมายแผนผังเอาไว้ทุกที่ และท่านก็ไม่ได้ปล่อยให้งานการขุดค้นสูญเปล่า

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้มีการขุด สำรวจครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ โดยการนำของท่าน  เซอร์ อเล็กชารเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) นักโบราณคดีชาวอังกฤษคนสำคัญ เป็นหัวหน้า

 

พรรษาแรกมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์

พรรษาแรกมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์

หลังจากเทศนาบิดา มารดา และภรรยาเก่า ของพระยสะให้ชื่นชมโสมมัสแล้วทรงลาเสด็จกลับไปสู่วัดมฤคทายวัน ครั้งนั้น สหายของพระยสะ ทั้ง ๒ คณะ คณะที่อยู่ในเมือง ๔ ท่าน และคณะที่ในชนบท ๕๐ ท่าน ครั้นได้ทราบว่าพระยสะออกบรรพาชา จึงพากันมายังสำนักพระยสะผู้สหาย พระยสะได้นำเพื่อน ทั้งหมดนั้น เข้าไปฝ้าพระทศพล แล้วกราบทูลนิมนต์ให้ประทานพระโอวาท พระบรมโลกนาถ จึงตรัส อนุปุพพิกถา และจตุราริยสัจจ์ ยังสหายของพระยสะ เหล่านั้นให้บรรลุพระโสดาปัตติผล แล้วโปรดประทาน อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมา ครัสโอวาทนุศาสน์ให้สำเร็จพระอรหันต์ทั้งสิ้น ๕๔ องค์ ในพรรษานั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์

ออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าทรงมีดำรัสให้ประชุมสงฆ์ว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย! เราหลุดพ้นแล้วจากบ่วงเครื่องผูกมัดทั้งปวง แม้พวกท่านทุกรูปก็เหมือนกัน ขอพวกท่านจงจาริกไปประกาศพระศาสนาในชนบทต่างๆ เพื่อยังประโยชน์และความสุขให้เกิดแก่คนเป็นอันมาก จงแยกกันไปแห่งละรูป จงแสดงธรรมอันงานในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และงามในที่สุดอันบริสุทธิ์ ที่เราได้ประกาศไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย! คนในโลกนี้ที่มีกิเลสบางเบา แต่มีสติปัญญาที่พอจะฟังธรรมรู้ เรื่องนั้นมีอยู่ แต่เพราะเหตุที่คนเหล่านั้นไม่มีโอกาศที่จะได้ฟังธรรม จึงเสื่อมจากคุณความดีที่จะพึงได้รับ พวกท่านไปกันเถิด แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อประกาศพระศาสนา”

รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พระสาวก ๖๑ รูปจึงแยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนาตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ส่วนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งเคยเป็นที่สถานประทับตรัสรู้ แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จโดยลำพังพระองค์ ไปยังสำนักของนักบวชใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ชฎิลสามพี่น้อง”