นครสาวัตถี วัดเชตวนาราม สถานที่ยมกปาฎิหาร

นครสาวัตถี วัดเชตวนาราม สถานที่ยมกปาฎิหาร

การเดินทางโดยรถ จากพาราณาสีสุ่นครสาวัตถี ระยะทางประมาณ ๒๓๒ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๗-๘ ชั่วโมง

ปัจจุบัน สาวัตถีเหลือแต่ซากสลักหักพัง ตั้งอยู่บนที่ลุ่มใกล้แม่น้ำอจิรวดี ปัจจุบันเรียกว่า สาเหตุ-มาเหตุ อยู่ในเขตจังหวัดบาห์ไรจ์ รัฐอุตตรประเทศ สภาพโดยทั่วไปมีกำแพงล้อมรอบ ลักษณะ เหมือนแตงโมผ่าครึ่ง โดยด้านกว้างระนาบไปกับสายน้ำอจิรวดี (ปัจจุบันเรียก แม่น้ำราปติ Rapati) สภาพนอกเมืองเป็นแหล่ง ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ราชวังเดิมอยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำอจิรวดีดับพระเชตวัน สาวัตถีเป็นเพียงราวป่ากลางทุ่งนา โดยมีหมู่บ้านสามสี่หมู่บ้าน เรียงรายไปตามสายน้ำ ผ่านเมืองบาลรัมปุระ (Balrampur) ไปทางสาวัตถี ๑๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลัคเนาว์ (Lucknow) ๑๓๔ กิโลเมตร และห่างจากเมืองโครักปูร์ (Gorakpu) ๑๘๕ กิโลเมตร ภายในเชตตะวันมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ มีรั้วรอบขอบชิด รัฐบาลได้ขุดค้นสำรวจพบซากกุฎิวิหารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็นอยู่ของพระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตเรื่อยมา

จนมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ถูกพวกมุสลิม ทำลายจนหมดสิ้นเหลือแต่ซาก เส้นทางเดินไปทัศนศึกษาในเขตพุทธสถาน ธรรมศาลา กุฎีสงฆ์ บ่อน้ำ อานันทโพธิ์ ต้นไม้ศักดิ์ที่มีอายุสืบทอดมาจากครั้งพุทธกาล ลำต้น ใหญ่ ใบหนาแน่นให้ร่มเงาแก่สรรพสัตว์ได้เข้าพักอาศัย อยู่ตรงหน้าพระอุโบสถพอดี ท่านพระโมคคัลลาน์เหาะเหินเดินอากาศไปนำต้นอ่อนมาจากต้นโพธิ์ที่พุทธคยา อนาถปิณฑกเศรษฐีทำพิธีปลูก

พระพุทธองค์ทรงประทับสมาธิใต้ต้นโพธิ์นี้หนึ่งคืน เป็นที่เครพบูชาของชาวพุทธเมืองสาวัตถี แต่นั้นมา ที่เห็นเป็นซากอิฐสีแดงๆ ก่อเรียงราย เป็นของทำขึ้นใหม่ต่อจากแผนผังเดิม ในส่วนกลางพุทธสถานจะเป็นมูลคันธกุฎี ที่ประทับจำพรรษากาลของพระพุทธองค์เป็นจุดเด่น มีเจดีย์องค์น้อยเป็นจุดสนใจเพื่อน้อมสักการบูชา ส่วนด้านหน้าของมูลคันธกุฎีเป็นธรรมศาลา ติดกับพระเชตวันมีศูนย์ปฎิบัติธรรมแดนมหามงคลของอุบาสิกาบงกช ได้ซื้อที่ดินล้อมรอบอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของพระเชตวัน ทางทิศตะวันออกติดถนนเส้นทางไปสู่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกะและบ้านพราหมณ์ปุโรหิตพ่อขององคุลีมาล อยู่ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร มีวัดพม่าและวัดศรีลังกาอยู่ตรงทางเข้าพระเชตวัน ภายในกลุ่มราวป่ามีเส้นทางตัดตรงไป เป็นเขตกำแพงมหานครสาวัตถี มีต้นไม้ ใหญ่น้อย ปกคลุมหมด มีสิ่งที่ควรเยี่ยมชมคือบ้านขององคุลีมาล เห็นเป็นเพียงเนินดินสูงๆ และบ้านของอนาถบิณฑิกะ

สาวัตถีครั้งพุทธกาล

สาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นผู้ปกครองเมือง พระพุทธองค์ประทับอยู่นานกว่าที่แห่งใด รวม ๒๕ พรรษา คือ ที่พระเชตวันมหาวิหาร อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา ประทับอยู่ที่บุพพาราม ของนางวิสาขาสร้างถวาย ๖ พรรษา พระเชตวันมหาวิหาร อยู่นอกนครสาวัตถี อยู่ใกล้ประตูเมืองทางทิศใต้ เป็นที่อนาปิณฑิกะ ได้ชื้อจากเจ้าชายเชต ถวายแก่พระพุทธองค์ เมื่อตรัสรู้แล้วได้ ๓ ปี

ส่วนบุพพารามนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย อยู่ทางทิศตะวันออก ของเมืองสาวัตถีเหตุที่พระองค์เสด็จเมืองสาวัตถี สมัยหนึ่งท่านอนาถปิณฑิกะได้เดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ ได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ที่สีตวันและได้บรรลุพระโสดาบัน จึงได้กราบทูลเสด็จเพื่อโปรดชาวเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์ทรงรับด้วยอาการสงบ ท่านอนาถปิณฑิกะทำการค้าเสร็จเดินทางกลับเมืองสาวัตถี รีบหาซื้อที่ดินเพื่อสร้างถวายแด่พระพุทธองค์ หามาหลายแห่งแต่ไม่ถูกใจ มาติดใจในที่ดินของเจ้าชายเชต เห็นว่าไม่ไกลจากจากเมืองสาวัตถี และที่อยู่ของเขามากนัก เป็นสถานที่สงบเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรม จึงได้ติดต่อของซื้อที่ แต่เจ้าชายเชตมิได้เต็มใจที่จะขายให้จึงแกล้งพูดไปว่า ถ้าท่านต้องการก็จอเอาเงินมาปูลาดที่ดินเอาไปก็แล้วกัน

เศรษฐีดีใจมากที่เจ้าชายเชตพูดอย่างนั้น เศรษฐีรีบสั่งให้คนดูแลทรัพย์สมบัติเปิดคลังสมบัติและนำเงินใส่เกวียนไปปูลาดยังที่แห่งนั้น เจ้าชายเห็นท่านอนาถปิณฑิกะผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาทำดังนั้น จึงขอร่วมทำบุญด้วยส่วนหนึ่ง ดั้งนั้นวัดแห่งนี้จึงมีชื่อเชตร่วมอยู่ด้วยว่า “วัดเชตวันมหาวิหาร”

สถานที่ยมกปาฎิหาริย์

สถานที่ยมกปาฎิหาริย์ อยู่ไม่ไกลจากวัดเชตวันมากนัก ปัจจุบันเป็นเนินดินใหญ่สูงประมาณ ๙๐ ฟุต ลักษณะคลายกับเจดีย์ที่บ้านนางสุชาดา รัฐบาลอินเดียได้กันลวดหนามเอาไว้มีประตูเปิดปิดเข้าออก บนยอดสุดมีร่องรอยการขุดค้นและแต่งเติมบางส่วน พวกเราสามารถขึ้นไปชมวิวบนยอดเจดีย์ จะมองเห็นความสวยงามของเมืองสาวัตถีได้อย่างทั่วถึง

ยมก แปลว่า คู่ หรือ สอง ยมกปาฎิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้าเปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระการเบื่องล่าง เป็นต้น

ยมกปาฎิหาริย์ แสดงได้แต่ผู้เดียว คือผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันสาวก และเดียรถีย์ ฤาษีชีไพร แสดงได้ปาฎิหาริย์ธรรมดา เช่น เดินบนน้ำ ดำเดิน เป็นต้น

สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปฎิหาริย์ครั้งนี้ คือที่โคนต้นมะม่วง หรือ คัณฑามพฤกษ์ ในเมืองสาวัตถี มูลเหตุที่ทรงแสดงเนื่องจากพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธเจ้าแข่งแสดงปาฎิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน พวกเดียรถีย์ ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงยมปฎิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วง จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น ทราบว่าบ้านใครสวนใครมีต้นมะม่วงก็ใช้อิทธิพลทางการเงิน ซื้อ แล้วโค่นทำลายหมด แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำลายไม่เหลือ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้

โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุกมาถวาย ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ปรากฎว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพลาด แตกกิ่งก้างสูงขึ้นถึง ๕๐ ศอก ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า “เมื่อทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ แล้ว ทรงเสร็จจำพรรษา ณ ที่ใดก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา”

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

สาวัตถี พุทธจักรไทยในแดนพุทธภูมิ

อริยทัศน์ อินเดีย : ยมกปาฏิหาริย์ ปราบทิฎฐิที่สาวัตถี

 

ขออนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ กับผู้ทำวีดีโอ ลง Youtube

อนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.WatMahabodhi.Com  / http://www.Thamma.Org

 

 

 

 

Advertisement