เสาศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช ป่าอิสิปตนมฤทายวัน
พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จยังป่าอิสิปตนมฤทายวัน เพื่อกราบสักการบูชาสถาน ที่ที่มีความสำคัญต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ปักเสาศิลาจารึกไว้สูงประมาณ ๗๐ ฟุต เสาศิลาจารึก มีลักษณะเป็นมันเลื่อมและเรียบ มีรัศมีต้องตาต้องใจเมื่อได้พบเห็น เสาศิลาอันเป็นเครื่องหมายที่สำคัญยิ่งนี้เป็นการยืนยันว่า สถานที่ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พระอริยสัจจ์เพื่อยังวงล้อแห่งพระธรรมให้หมุนไปนั้นเอง ที่หลักศิลามีการจารึกข้อความเป็นอักษรพราหมณ์มี สิ่งที่สำคัญที่สุดบนยอดเสาศิลาคือ หัวสิงห์ ซึ่งปัจจุบันได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองสารนารถแล้ว และยังอยู่ในสภาพ ที่ดีมาก มีรูปสิงห์โตแกะสลัก ๔ หัว นั่งหันหลังชนกันสภาพเดิมนั้น มีรูปธรรมจักรเอาไว้ด้วย แต่น่าเสียดายว่า รูปธรรมจักรหักหล่น หาเศษได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่สามารถประกอบเข้าเป็นรูปธรรมจักรอยู่ครบทั้ง ๔ ด้านซึ่ง รูปกงล้อๆ ละ ๒๔ ซี่ เท่ากับจำนวนปฎิจจสมุปบาท (เกิด-ดับ) ในระหว่างรูปธรรมจักรทั้ง ๔ มีรูปสัตว์ ๔ ชนิด คือ ช้าง โค ม้า สิงห์โต หลังจากที่ อินเดียได้รับเอกราชกลับคืนมาจากอังกฤษแล้ว ได้ใช้ตราธรรมจักรนี้เป็นตราแผ่นดิน ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ถูกเก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ รวมทั้งพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากและพระพุทธรูปปางอื่นๆ อีกมากมายเก็บเอาไว้ในที่แห่งนี้
เสาศิลาจารึก