ประวัติอนาถบิณฑิกเศรษฐี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อ ว่า “สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา เมื่อบิดามารดาของท่านล่วงลับไปแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีแทนให้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั่งประชาชน ทั่วไป เรียกท่านตามลักษณะนิสัยว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งหมายถึง “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา” และได้เรียกกันต่อมาจนบางคนก็ลืมชื่อเดิมของท่านไปเลย ท่านอนาถบิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์ นามว่า “ราชคหกะ” และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้นโดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถบิณฑิกะ นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคฤหเศรษฐีผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและพี่เมียอยู่เป็นประจำ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกเศรษฐี ได้กราบทูลอารธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายเพื่อฉันภัตตาหารที่เรีอนของตนในวันรุ่งขึ้น ราชคหกเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฎิสันถารต้อนรับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศรัยเล็กน้อยเท่านั้นแล้วก็สั่งงานต่อไปแม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ราชคหกเศรษฐี คงจะมีงานบูชายันต์หรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ่งนี้” เมื่อการสั่งการเสร็จ ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสงสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตรที่เรีอนของตนในวันพรุ่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนั้นที่จะได้ยินในโลกนี้
เมื่อราชหคกเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปิติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันทีนั้น แต่ราชคหกเศรษฐียับยั้งไว้ว่า มิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกเศรษฐี ได้ฟัง อนุปุพพิกถา และอริยสัจสี่ จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาประกาศตนเป็น “อุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวัดถวาย
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสด็จภัตตากิจแล้วก็ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนายังเมืองสาวัตถึ พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวาย พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูลอนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปราบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับกรุงสาวัตถีโดยด่วน
ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุกๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอชื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ที่ต้องการ
ปรากฎว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฎิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฎิเป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฎิ (หนึ่งโกฎิ เท่ากับ ๑๐ ล้านบาท) แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอารามขณะนั้น เจ้าชาติเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูอารามา ดั้งนั้พระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”
เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว
เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่งว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูปไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาลอนาถบิณฑิกเศรษฐีทำบุญโดยทำนองนี้ทั้งให้ทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ
ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฐิซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมือเห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎกายต่อหน้าเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิดแล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะเพิ่มพูนขึ้น เหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่าท่านเป็นใคร “ข้าพเจ้า เป็นเทวดาสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน” “ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่านจงออกไปจากซุ้มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”
เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ้มประตูเรืองของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่ออกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน ๘๐ โกฎิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจบหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้” เทวดาทำตามนั้น
ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไปต้นแบบ การทำบุญอุทิศให้ผู้ตายพุทธบริษัทผู้ใผ่บุญนั้น
“นี่แหละคฤหบดี ธรรมดาบุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตามถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดี ปฎิบัติชอบก็ย่อมเสวยสุขบันเทิงใจทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้ความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทนเมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้มีศรัทธามั่งคงไม่หวั่นไหว ฝั่กใฝ่ในการทำบุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่ง เอกทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายก
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เอกทัคคะ เป็น ผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายก
Ref. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายพระเชตวนาราม
[๒๖๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนคร สาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระ ผู้มีพระภาค พร้อมกับภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยใน- *วันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณ กลับไป ฯ [๒๗๐] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนี- *ยาหารอันประณีต โดยล่วงราตรีนั้น แล้วสั่งให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระ ภาคว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิก คหบดี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอัน- *ประณีตด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตร แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธ เจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คหบดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา อนาถบิณฑิก คหบดีรับสนองพระพุทธบัญชาแล้วได้ถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มา แล้วและยังไม่มา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วยคาถา เหล่านี้ ว่าดังนี้:- คาถาอนุโมทนาวิหารทาน
[๒๗๑] วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อนและเนื้อร้าย นอกจากนั้นป้องกันงู และยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้น วิหารยังป้อง- *กันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อ หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาดเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตอยู่ในวิหารเถิด อนึ่ง พึงมีน้ำใจเลื่อมใส ถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะอันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรม อันเป็นเครื่อง บรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา อันเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้ ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา อนาถบิณฑิกคหบดีด้วยพระ คาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป ฯ
พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 2
พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 3
พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 4
พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ขออนุโมธนา ผลบุญกุศล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ได้สร้างวัดเชตวนาราม และทำบุญกุศลทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ ตลอดกาลอนาถบิณฑิกเศรษฐี สาธุ สาธุ สาธุ