เกิดความปิติ ยินดี และอนุโมธนาฯ
เนื่องด้วย ข้าพเจ้าและครอบครัว เดินทางไปทำบุญภาวนา ที่ พุทธคยา และลูกชายบวชเณร ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ได้รับผ้าไตรพระราชฐานจากในหลวงฯ กระผมและครอบครัว มีความปิติ ยินดีและอนุโมธนาผลบุญ ผู้บวชพระ บวชเณร ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และผู้มาภาวนาทุกท่านฯ
ตั้งแต่เดินก้าวแรกเข้าเขตประตูวัดศรีมหาโพธิ์ เกิดความรู้สึก ปิติ เหมือนได้ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กลับมาบ้าน ขนลุกไปทั้งตัว ทั้งแต่หัวจรดเท้า
ข้าพเจ้าได้อยู่ภาวนาตั้งแต่วันเปิด อยู่จนดึก คือวัดปิด จน รปภ. เป่านกหวีด
ข้าพเจ้าอยากให้พุทธศนิกชนทุกท่านได้รับ ไปกลาบ นมัสการ และรู้ถึง ประวัติพระพุทธศาสนา องค์พระสัมมาสัพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยตนเอง
พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร
“….ดูก่อนอานนท์ สถานที่บุคคลผู้มีความเลื่อมใสเรา ควรเห็นควรทัศนา คือ
๑. สถานที่พระตถาคตเจ้าประสูติ (ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล)
๒.สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ (ที่พุทธคยา)
๓.สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงปฐมเทศนา (ที่สารนาถ เมืองพาราณสี)
๔.สนานที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน (ที่เมืองกุสินารา) ”
“ชนเหล่านั้นท่องเที่ยวไปยังที่เหล่านี้ด้วยจิตอันเลื่อมใสเกิดธรรมสังเวช เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”
ภายในพุทธคยา ประกอบไปด้วย สัตตมหาสถาน ทั้ง ๗ แห่งคือ…
๑.ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
หลังจากพระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ พระบาทขาววางทับพระบาทซ้าย และพระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ ไปทางต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า
“ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที่”
พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณ
- ที่หนึ่งในตอนปฐมยาม ญาณที่หนึ่งเรียกว่า บุพเพนิวาสนุสติญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังของตนและของคนอื่น)
- พอถึงมัชณิณยาม ทรงบรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดถึงความแตกต่างกันที่ เรียกว่า กรรม)
- พอถึงปัจฉิมยาม ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ อาสวักขยญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจ ๔ คือ ความทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์
การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนั้น ทรงมีพระนามใหม่ว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลว่า พระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง)
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุข อยู่ภายในต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน (คำว่า “เสวยวิมุติสุข” เป็นภาษาที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพันแล้ว เทียบกับภาษาสามัญชนคนมีกิเลศก็คือพักผ่อนภายหลังที่ตรากตรำงานมานั่นเอง)
สัปดาห์ที่ ๒. อนิมิสเจดีย์
อนิมิสเจดีย์ หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับนั่ง เสวยวิมุติสุข ณ บัลลังก์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ ตลอด ๗ วัน เทวดาบางพวกเกิดความปริวิตก ว่า แม้วันนี้ พระสิทธัตถะ ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัย ในบัลลังก์ ด้วยพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ก่อน ประทับนั่งว่า “ถ้าไม่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่เสร็จลุกขั้นจากบัลลังก์นี้
ในวันที่ ๘ ทรงออก จากสมาบัติ ทรงทราบความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศ ครั้งแสดงยมกปาฎิหาริย์กำจัดความสงสัย ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เยื้องจากบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงจ้องดูบัลลังก์ และต้นโพธิ์ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็บ มาถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณเหนือบัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น จึงเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์
รัตนจงกรมเจดีย์ พระองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมระหว่างบัลลังก์ที่ประทับนั้งตรัสรู้ กับอนิมิสเจดีย์ ทรงจงกรมบนรัตนจงกรม จากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์”
ปัจจุบัน มีหินแกะสลักทำเป็นดอกบัว วางเรียงกัน เป็นแนวยาวตลอด อยู่ทางด้านซ้ายมือข้างองค์พระมหาเจดีย์ พุทธคยา หรืออยู่ทางทิศเหนือ สร้างเป็นแท่นหินสูง ๑ เมตร มี ๑๙ ดอก
สัปดาห์ที่ ๔ รัตฆรเจดีย์
รัตฆรเจดีย์ เทวดาทั้งหลายเนรมิตเรือนแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎก และพระสมัมตปัฎฐาน อนันตนัย ในพระอภิธรรมปิฎกโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์
ส่วนนักอภิธรรม กล่าวว่า ที่ชื่อว่า เรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนแก้วที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่สถานที่ทรงพิจาณาปกรณ์ทั้ง ๗ เรืยกว่า เรื่อนแก้ว ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองเข้าไว้ในที่นี้ โดยปริยาย จึงควรถือเอาทั้งสองนัย สถานที่นั้นจึงชื่อว่า “รัตฆรเจดีย์”
ลักษณะที่ปรากฎในปัจจุบัน เจดีย์นี้สร้างเป็นทรงสีเหลี่ยมผืนผ้า หลังคาตัดตรง ทาสีเหลือง ด้านหน้ามีประตูทางเข้า หันหน้าไปทางกำแพงด้านทิศเหนือ ภายในมีพระพุทธรูป ทองเหลือขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ประดับอย่างสวยงามประดิษฐานอยู่ (ทั้ง ๔ แห่งนี้อยู่บริเวณใกล้ๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์)
สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโครธ
อชปาลนิโครธ พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ใกล้ๆ ต้นโพธิ์ ๔ สัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสร็จออก จากบริเวณควงไม้โพธิ์เสร็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปทางทิศตะวันออก ประทับนั่งพิจารณาพระธรรม และเสวยวิมุติสุขที่ต้นอชปาลนิโครธนั้น
สถานที่แห่งนี้อยู่ด้านทิศตะวันออกของบ้านนางสุชาดา ปัจจุบันเรียกว่า วัดนางสุชาดา (Sujata Templ)
สัปดาห์ที่ ๖ สระมุจลิทน์
สระมุจลิทน์ อยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นสระจำลองมีพระพุทธรูปปรางค์นาคปรกอยู่กลางสระ (ไทยเราแปลต้นมุจลินท์ กันว่าต้นจิก)
เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จมาประทับอยู่ที่นี่ มหาเฆมซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็ตั้งขึ้นทั่วท้องจักรวาล ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ท่านผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อมุจลินท์ ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้เข้าไปวงขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกายของพระพุทธเจ้า ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนประคองอัญชลีถวายบังคมพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์
สระมุจลินท์อยู่ทางทิศใต้ ห่างจากต้นศรีมหาโพธิ์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๕๐๐ เมตร ปัจจุบันบริเวณสระมุจลินท์มีหมู่บ้านอยู่ใกล้ๆ ชาวบ้านนำสัตว์เลี้ยงมาผูกเอาไว้รอบๆ สระน้ำ
สัปดาห์ที่ ๗ ราชยตนะ
สัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุติสุข อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๑ กิโลเมตรและห่างจากสถานที่ตรัสรู้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ปัจจุบันมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่งและเทวสถานของศาสนาฮินดูไว้ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าเสร็จไปประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า ราชายตนะ อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ราชายตนะ แปลกันว่า ไม้เกต
สถานที่ควรทัศนา ณ มณฑลพุทธคยา
๑.เจดีย์พุทธคยา
๒.สัตตมหาสถาน คือสถานที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์
๓.บ้านนางสุชาดา
๔.แม่น้ำเนรัญชรา
๕.ดวงสิริ คือ สถานที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
๖.อาศรมของชฎิลสามพี่น้อง
๗.วัดนานาชาติ
http://www.WatMahabodhi.com
https://mahabodhitemple.wordpress.com
http://www.thamma.org/