พระอรหันต์ องค์ที่ ๗ ยสกุลบุตร ปฐมอุบาสกและปฐมอุบาสิกา

พระอรหันต์ องค์ที่ ๗ ยสกุลบุตรและ ปฐมอุบาสกและปฐมอุบาสิกา

ยสบุตรเป็นลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี บิดามารดาสร้างปราสาทเปลี่ยนฤดูให้อยู่ ๓ หลัง แต่ะละหลังมีนางบำเรอเผ้าปรนนิบัติจำนานมาก เที่ยงคืนหนึ่ง ยสกุลบุตร ตื่นขึ้นมาเห็นนางบำเรอนอนสลบไสลด้วยอาการที่น่าเกลียด วิปริตไปต่างๆ นาๆ ก็เกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่ายยสกุลบุตร จึงแอบหนีจากบ้านคนเดียวยามดึกสงัด เดินมุ่งหน้าไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พลางบ่นไปตลอดทางว่า “อุปัททูตัง วะตะ อุปสัคคัง วะตะ” แปลว่า เฮอ วุ่ยวายจริง! เฮอ! อึดอัดขัดข้องจริง! หมายถึง ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ

ขณะนั้นมีเสียงดังตอบออกมาจากชายป่าว่า “โน อุปัททูตัง วะตะ อุปสัคตัง”  (แปลว่าที่มีไม่มีความวุ่นวาย ที่นี่ไม่มีความอึดอัดขัดข้อง) เป็นพระดำรัสตอบ ของพระพุทธเจ้านั้นเอง พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมอยู่ พระพุทธเจ้าตรัส บอกยสกุลบุตรว่า “เชิญเข้ามาที่นี่แล้วนั่งลงเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”

พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกาถา

โปรดก่อน แล้วจึงทรงเทศนาสอน อริยสัจจ์ ๔ และท่านยสกุลบุตร ได้บรรลุโสดปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

และในขณะนั้นบิดาก็ตามมาพบและถวายบังคมพระพุทธเจ้า ด้วยอำนาจอิทธาภิสังขารของ พระสุคต และตั้งใจฟังธรรมเทศนา “อนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ อย่างตั้งใจ และท่านเศรษฐีได้บรรลุโสดาปัตติผล แสดงตนเป็น อุบาสก เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ “เป็นอุบาสกที่กล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นคนแรกในพระพุทธศาสนา”

ฝ่ายยสกุลบุตร ได้สดับพระธรรมเทศนา ซี่งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่เศรษฐีผู้เป็นบิดาเหมือนกับพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงแก่ตน ซ้ำอีกหนึ่งหน จิตก็หลุดพ้นจากสรรพาสวะ เป็นพระอริยบุคคลคือ พระอรหันต์องค์ที่ ๗ ในพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้า เมือทรงทราบว่า ท่านยสะเป็นพระอรหันต์ และเศรษฐีผู้บิดาเป็นพระโสดาบัน จึงทรงคลายอิทธาภิสังขาร เศรษฐีผู้บิดาก็มองเห็นท่านยสะ

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับเศรษฐีว่า “บัดนี้พระยสะได้เป็นพระอรหันต์ชีวิตที่จะกลับไปครองบ้านครองเรือนจึงไม่สมควรอีกต่อไป”

เศรษฐีครั้นได้ทราบจากพระทรงธรรมว่า ยสะบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ มีจิตโสมนัส จึงกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมพระยสะ เป็นปัจฉาสมณะ เพื่อไปฉันภัตตาหารในนิวาศสถานของตน ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับ จึงถวายบังคมลา ทำประทักษิณเบื่องขวากลับไปบ้านของตน

เมื่อเศรษฐีหลีกไป ท่านยสะกุลบุตรก็ได้ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท พระสุคตก็ทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้แก่นยสะ

พอรุ่งเช้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระยสะเป็นปัจฉาสมณะเสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในบ้านท่านเศรษฐี มีมารดา และอดีตภรรยาของพระยสะ พากันมาถวายอภิวาท พระพุทธองค์ทรง ประทับบนวรปัญญัตอาสน์ ทรงตรัส เทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ แก่มารดาและอดีตภรรยาของพระยสะ ให้บรรลุโสดาปัตติผล เป็น ปฐมอุบาสิกา ในโลกก่อนกว่าหญิงอื่น

สัตตมหาสถาน ทั้ง ๗ ในพุทธคยา

ภายในพุทธคยา ประกอบไปด้วย สัตตมหาสถาน ทั้ง ๗ แห่งคือ…

๑.ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 

หลังจากพระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ พระบาทขาววางทับพระบาทซ้าย และพระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ ไปทางต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า

“ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที่”

พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณ

  • ที่หนึ่งในตอนปฐมยาม ญาณที่หนึ่งเรียกว่า บุพเพนิวาสนุสติญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังของตนและของคนอื่น)
  • พอถึงมัชณิณยาม ทรงบรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดถึงความแตกต่างกันที่ เรียกว่า กรรม)
  • พอถึงปัจฉิมยาม ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ อาสวักขยญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจ ๔ คือ ความทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์

การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนั้น ทรงมีพระนามใหม่ว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลว่า พระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง)

พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุข อยู่ภายในต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน (คำว่า “เสวยวิมุติสุข” เป็นภาษาที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพันแล้ว เทียบกับภาษาสามัญชนคนมีกิเลศก็คือพักผ่อนภายหลังที่ตรากตรำงานมานั่นเอง)

สัปดาห์ที่ ๒. อนิมิสเจดีย์

อนิมิสเจดีย์ หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับนั่ง เสวยวิมุติสุข ณ บัลลังก์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ ตลอด ๗ วัน เทวดาบางพวกเกิดความปริวิตก ว่า แม้วันนี้ พระสิทธัตถะ ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัย ในบัลลังก์ ด้วยพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ก่อน ประทับนั่งว่า “ถ้าไม่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่เสร็จลุกขั้นจากบัลลังก์นี้

ในวันที่ ๘ ทรงออก จากสมาบัติ ทรงทราบความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศ ครั้งแสดงยมกปาฎิหาริย์กำจัดความสงสัย ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เยื้องจากบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงจ้องดูบัลลังก์ และต้นโพธิ์ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็บ มาถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณเหนือบัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น จึงเรียกว่า อนิมิสเจดีย์

สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์

รัตนจงกรมเจดีย์ พระองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมระหว่างบัลลังก์ที่ประทับนั้งตรัสรู้ กับอนิมิสเจดีย์ ทรงจงกรมบนรัตนจงกรม จากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์”

ปัจจุบัน มีหินแกะสลักทำเป็นดอกบัว วางเรียงกัน เป็นแนวยาวตลอด อยู่ทางด้านซ้ายมือข้างองค์พระมหาเจดีย์ พุทธคยา หรืออยู่ทางทิศเหนือ สร้างเป็นแท่นหินสูง ๑ เมตร มี ๑๙ ดอก

สัปดาห์ที่ ๔ รัตฆรเจดีย์

รัตฆรเจดีย์ เทวดาทั้งหลายเนรมิตเรือนแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎก และพระสมัมตปัฎฐาน อนันตนัย ในพระอภิธรรมปิฎกโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์

ส่วนนักอภิธรรม กล่าวว่า ที่ชื่อว่า เรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนแก้วที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่สถานที่ทรงพิจาณาปกรณ์ทั้ง ๗ เรืยกว่า เรื่อนแก้ว ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองเข้าไว้ในที่นี้ โดยปริยาย จึงควรถือเอาทั้งสองนัย สถานที่นั้นจึงชื่อว่า “รัตฆรเจดีย์”

ลักษณะที่ปรากฎในปัจจุบัน เจดีย์นี้สร้างเป็นทรงสีเหลี่ยมผืนผ้า หลังคาตัดตรง ทาสีเหลือง ด้านหน้ามีประตูทางเข้า หันหน้าไปทางกำแพงด้านทิศเหนือ ภายในมีพระพุทธรูป ทองเหลือขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ประดับอย่างสวยงามประดิษฐานอยู่ (ทั้ง ๔ แห่งนี้อยู่บริเวณใกล้ๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์)

 

สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโครธ

อชปาลนิโครธ พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ใกล้ๆ ต้นโพธิ์ ๔ สัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสร็จออก จากบริเวณควงไม้โพธิ์เสร็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปทางทิศตะวันออก ประทับนั่งพิจารณาพระธรรม และเสวยวิมุติสุขที่ต้นอชปาลนิโครธนั้น

สถานที่แห่งนี้อยู่ด้านทิศตะวันออกของบ้านนางสุชาดา ปัจจุบันเรียกว่า วัดนางสุชาดา (Sujata Templ)

สัปดาห์ที่ ๖ สระมุจลิทน์

สระมุจลิทน์ อยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นสระจำลองมีพระพุทธรูปปรางค์นาคปรกอยู่กลางสระ (ไทยเราแปลต้นมุจลินท์ กันว่าต้นจิก)

เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จมาประทับอยู่ที่นี่ มหาเฆมซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็ตั้งขึ้นทั่วท้องจักรวาล ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ท่านผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อมุจลินท์ ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้เข้าไปวงขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกายของพระพุทธเจ้า ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนประคองอัญชลีถวายบังคมพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์

สระมุจลินท์อยู่ทางทิศใต้ ห่างจากต้นศรีมหาโพธิ์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๕๐๐ เมตร ปัจจุบันบริเวณสระมุจลินท์มีหมู่บ้านอยู่ใกล้ๆ ชาวบ้านนำสัตว์เลี้ยงมาผูกเอาไว้รอบๆ สระน้ำ

สัปดาห์ที่ ๗ ราชยตนะ

สัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุติสุข อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๑ กิโลเมตรและห่างจากสถานที่ตรัสรู้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ปัจจุบันมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่งและเทวสถานของศาสนาฮินดูไว้ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าเสร็จไปประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า ราชายตนะ อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ราชายตนะ แปลกันว่า ไม้เกต

พระพุทธองค์แสดง ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร (อัญญาโกณฑัญญะ และปัญจวัคคีย์ ๕)

พระพุทธองค์แสดง ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร

ในสัปดาห์ที่ ๖ ถึงที่ ๘ เป็นช่วงที่พระพุทธเจ้าแปรสถานที่ประทับไปมาระหว่างต้นศรีมหาโพธิ์ กับ ต้นอชปาลนิโครธ หรือต้นไทร จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่ตรัสรู้มา พระพุทธเจ้าจึงเสร็จออกจากบริเวณสถานที่ตรัสรู้  เพื่อเสร็จไปยังป่าอิสิปตมนฤคทายวัน (ทุกวันนี้เรียกว่า “สารนาถ” ซื่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี)

ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าเสร็จไปถึงป่าอิสิปตมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกัน ที่ว่านี้ ว่าตามวันเวลาที่ระบุบในหนังสือปฐมสมโพธิว่า…

ขณะนี้พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่ เรื่องที่สนธนากันก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า “นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว ป่านนี้จะประทับอยู่ที่ไหน จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือหาไม่” ทันใดนั้น

เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกญฑัญญะ วัปปะ ภทิทิยะ อัสสซิ และมหามานะ ก็เห็นพระฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล เมื่อเหลียวแลลำแสงพระรัศมี ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสร็จดำเนินมา ทั้ง ๕ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสร็จพระพุทธเจ้า และจะไม่ถวายความเครพ คือจะไม่ถวายบังคม แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจ ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น เพราะต่างก็ลุกขึ้นรับเสร็จ ถวายบังคม และรับบาตรและจีวรด้วย ความเครพอย่างแต่ก่อนเคยทำมา ผิดแต่ว่า กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น ปัญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า “อาวุโส โคดม” พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า “พระองค์ได้ตรัสรู้อมตรธรรมจะนำมากล่าวกับเธอทั้งหลาย คำเช่นนี้เราเคยกล่าวกับท่านในกาลก่อนบ้างหรือไม”

เมื่อปัญจคัคคีย์ได้สติพระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่า “พระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่เสร็จมาที่นี่เพื่อจะแสดงธรรมโปรดนั้นเอง”

พระอรรถกถาพรรณว่า รุ่งขึ้นเป็นวันอาสาฬหปุณณมี (คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง “ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร” ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์พอจบลง ปรากฎว่า

ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลีและมลทินโทษว่า

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา”

พระพุทธองค์ได้ทรงทราบด้วยพุทธญาณว่า บัดนี้ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุพระโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นและเป็นองค์แรกในพระพุทธสาวกของพระองค์ จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ” และจำเดิมแต่นั้นมาคำว่าอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นชื่งของท่าน

ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ครั้งได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงทูลขออุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระพุทธองค์ได้ประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้แก่ท่านอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และทรงจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น

ในวันต่อมา พระพุทธองค์ทรงสอนท่านทั้ง ๔ ที่เหลือนั้น ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า “อนัตตลักขณสูตร”เมื่อจบปรากฎว่า ปัญจวัคคีย์ที่เหลือได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลในอันดับต่อมาและได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระสุคตก็ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาตามในที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อปัญจวัคคีย์ มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นต้น ความเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติ ได้บรรลุพระอหัตผล รวมมีพระอริยบุคคลเกิดขึ้นในโลกทั้งหมด ๖ องค์

เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรงปฎิเสธสิ่งที่คนคือนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน คือ เรื่องทรมานตนให้ลำบาก และการปล่อยชีวิตไปตามความใคร่ ทรงปฎิเสธว่าทั้งสองทางนั้น พระองค์เคยทรงผ่านและทรงทดลองมาแล้ว ไม่ใช่ทางตรัสรู้เลย แล้วทรงแนะนำทางทางสายกลางที่เรืยกว่า “มัชณิมาปฎิปทา” คือปฎิบัติดีปฎิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ที่กล่าวโดยย่อ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

“ขออนุโมทธนา สาธุ พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ และปัญจวัคคีย์ ๕ คือ 

  • ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
  • ท่านพระวัปปะ
  • ท่านพระภัททิยะ
  • ท่านพระอัสสซิ
  • ท่านพระมหามานะ

ประวัติของท่านแต่ละพระองค์ จะกล่าวภายหลัง ท่านเป็นเอกทัคคะ ด้านต่างๆ

ขออนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ กับทุกท่านที่ได้อ่าน และเกิดความปิติ สาธุ สาธุ สาธุ

History of MahaBodhi Temple India.

History of MahaBodhi Temple India.

ประวัติ วัดพุทธคยา 

dsc04418

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น

สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก

ประวัติ ภาษาไทย

ประวัติ ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ

การทำบุญครั้งนี้มีวัตถุประสงค์

1.ติดตั้งโคมไฟ และหลอดไฟ LED บริเวณ ภายในวัดพุทธคยาฯ

2.ทาสี กำแพง บริเวณ ภายในวัดพุทธคยาฯ

ผลบุญกุศล และการบริจาคทาน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. สัปปุริสทานสูตร

       [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา ๑
ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑
ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร ๑
เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๑
ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล (บังเกิดขึ้น)

ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตรภรรยา ทาส คนใช้
หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆคือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร
จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๐๒๔ – ๔๐๔๑. หน้าที่ ๑๗๕ – ๑๗๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4024&Z=4041&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=148

เอาอานิสงส์แห่งการถวายประทีปเป็นพุทธบูชา มาบอกครับ 

1. ย่อมเป็นผู้รู้คุณของพระรัตนตรัย ทำให้มีศรัทธามั่นคง

2. เป็นผู้มีความเคารพ มีสัมมาคารวะ

3. เป็นผู้มีดวงตาสดใส สวยงาม มองได้ไกล ดวงตาบริสุทธิ์บริบูรณ์

4. ทำให้เป็นผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)

5. มีผิวพรรณผ่องใส มีจิตใจสดชื่นเบิกบาน

6. มีรัศมีกายสว่างไสว มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทในชีวิต

7. ทำให้มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีปฎิภาณว่องไว แตกฉานในสรรพวิชชาทั้งทางโลก และทางธรรม

8. ย่อมไม่ไปเกิดในทุคติ

9. ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย