อจลเจดีย์ จำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รอยพระพุทธบาท ตักบาตรเทโว

ปฐมสมโพธิลำดับการเสร็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า “ในพรรษาที่ ๗ (นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ตามนิยามท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่น ยุคหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่เรียกกันว่า “อรรถกถา” กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธเจ้าเสร็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ มีผู้แปลกันว่า ได้แก่ ต้นทองหลางผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้านผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์”

พระอินทร์ได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสร็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ทรงป่าวประกาศหมู่เทพยดา ให้มาร่วมชุมนุม ฟังธรรมพระพุทธเจ้า

ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีหมื่นโยชน์ เทพเจ้าทั้งปวดได้สดับก็บังเกิดโสมนัสพิศวง ทรงบอกกันต่อ ถึงหมื่นจักรวาล แม้พระนางสิริมหายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควรอุปนิสัยแห่งตน

พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภายหลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าว เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จคือวันออกพรรษา เมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น

ต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า “อจลเจดีย์” เรียกอย่างไทยเราก็ว่า “รอยพระพุทธบาท” ตามตำนานว่าที่นี่เป็นที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้าคือพระอินทร์ ได้เนรมิตบันได ๓ บันไดเป็นที่เสด็จลง คือ บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้วมณี บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา บันไดเงินอยู่ด้านซ้าย สำหรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้าหัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร หมู่เทพที่ตามส่งเสด็จอยู่ทางเบื้องขวา

ท้าวมหาพรหมผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าอยู่เบื้องซ้าย ผู้อุ้มบาตร นำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์ ปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตรถือพิญบรรเลงมาตุลีเทพบุตร ถือพานดอกไม้ทิพย์โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน

คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่าออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำบุญตักบาตรกันในวันนี้ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกการตักบาตรนี้ว่า “ตักบาตรเทโว” ย่อมาจากเทโวโรหณะ แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเอง

วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฎิหาริย์ อีกครั้งหนึ่ง คือขณะที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตร ไปทางทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมโลกก็เปิดมองเห็นโล่ง ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล

วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่า “พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก” โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก

เทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น
มนุษย์โลก  หมายถึง โลกมนุษย์
ยมโลก หมายถึงทางเบื้องตำ่ คือนรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก

พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่างโล่งขึ้นไปถึงเทวโลก เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตรลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม

ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดาเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่

คัมภีร์ธรรมบท ที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า “วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน” ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า “ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด” (พุทธภูมิ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า)

พุทธประวัติพระพุทธเจ้า HD ตอน๑๐ โปรดพุทธบิดาและพุทธมารดา uddha HD Thus have I Head

พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

นครสาวัตถี วัดเชตวนาราม สถานที่ยมกปาฎิหาร

นครสาวัตถี วัดเชตวนาราม สถานที่ยมกปาฎิหาร

การเดินทางโดยรถ จากพาราณาสีสุ่นครสาวัตถี ระยะทางประมาณ ๒๓๒ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๗-๘ ชั่วโมง

ปัจจุบัน สาวัตถีเหลือแต่ซากสลักหักพัง ตั้งอยู่บนที่ลุ่มใกล้แม่น้ำอจิรวดี ปัจจุบันเรียกว่า สาเหตุ-มาเหตุ อยู่ในเขตจังหวัดบาห์ไรจ์ รัฐอุตตรประเทศ สภาพโดยทั่วไปมีกำแพงล้อมรอบ ลักษณะ เหมือนแตงโมผ่าครึ่ง โดยด้านกว้างระนาบไปกับสายน้ำอจิรวดี (ปัจจุบันเรียก แม่น้ำราปติ Rapati) สภาพนอกเมืองเป็นแหล่ง ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ราชวังเดิมอยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำอจิรวดีดับพระเชตวัน สาวัตถีเป็นเพียงราวป่ากลางทุ่งนา โดยมีหมู่บ้านสามสี่หมู่บ้าน เรียงรายไปตามสายน้ำ ผ่านเมืองบาลรัมปุระ (Balrampur) ไปทางสาวัตถี ๑๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลัคเนาว์ (Lucknow) ๑๓๔ กิโลเมตร และห่างจากเมืองโครักปูร์ (Gorakpu) ๑๘๕ กิโลเมตร ภายในเชตตะวันมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ มีรั้วรอบขอบชิด รัฐบาลได้ขุดค้นสำรวจพบซากกุฎิวิหารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็นอยู่ของพระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตเรื่อยมา

จนมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ถูกพวกมุสลิม ทำลายจนหมดสิ้นเหลือแต่ซาก เส้นทางเดินไปทัศนศึกษาในเขตพุทธสถาน ธรรมศาลา กุฎีสงฆ์ บ่อน้ำ อานันทโพธิ์ ต้นไม้ศักดิ์ที่มีอายุสืบทอดมาจากครั้งพุทธกาล ลำต้น ใหญ่ ใบหนาแน่นให้ร่มเงาแก่สรรพสัตว์ได้เข้าพักอาศัย อยู่ตรงหน้าพระอุโบสถพอดี ท่านพระโมคคัลลาน์เหาะเหินเดินอากาศไปนำต้นอ่อนมาจากต้นโพธิ์ที่พุทธคยา อนาถปิณฑกเศรษฐีทำพิธีปลูก

พระพุทธองค์ทรงประทับสมาธิใต้ต้นโพธิ์นี้หนึ่งคืน เป็นที่เครพบูชาของชาวพุทธเมืองสาวัตถี แต่นั้นมา ที่เห็นเป็นซากอิฐสีแดงๆ ก่อเรียงราย เป็นของทำขึ้นใหม่ต่อจากแผนผังเดิม ในส่วนกลางพุทธสถานจะเป็นมูลคันธกุฎี ที่ประทับจำพรรษากาลของพระพุทธองค์เป็นจุดเด่น มีเจดีย์องค์น้อยเป็นจุดสนใจเพื่อน้อมสักการบูชา ส่วนด้านหน้าของมูลคันธกุฎีเป็นธรรมศาลา ติดกับพระเชตวันมีศูนย์ปฎิบัติธรรมแดนมหามงคลของอุบาสิกาบงกช ได้ซื้อที่ดินล้อมรอบอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของพระเชตวัน ทางทิศตะวันออกติดถนนเส้นทางไปสู่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกะและบ้านพราหมณ์ปุโรหิตพ่อขององคุลีมาล อยู่ห่างจากพระเชตะวันประมาณ ๑ กิโลเมตร มีวัดพม่าและวัดศรีลังกาอยู่ตรงทางเข้าพระเชตวัน ภายในกลุ่มราวป่ามีเส้นทางตัดตรงไป เป็นเขตกำแพงมหานครสาวัตถี มีต้นไม้ ใหญ่น้อย ปกคลุมหมด มีสิ่งที่ควรเยี่ยมชมคือบ้านขององคุลีมาล เห็นเป็นเพียงเนินดินสูงๆ และบ้านของอนาถบิณฑิกะ

สาวัตถีครั้งพุทธกาล

สาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นผู้ปกครองเมือง พระพุทธองค์ประทับอยู่นานกว่าที่แห่งใด รวม ๒๕ พรรษา คือ ที่พระเชตวันมหาวิหาร อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา ประทับอยู่ที่บุพพาราม ของนางวิสาขาสร้างถวาย ๖ พรรษา พระเชตวันมหาวิหาร อยู่นอกนครสาวัตถี อยู่ใกล้ประตูเมืองทางทิศใต้ เป็นที่อนาปิณฑิกะ ได้ชื้อจากเจ้าชายเชต ถวายแก่พระพุทธองค์ เมื่อตรัสรู้แล้วได้ ๓ ปี

ส่วนบุพพารามนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย อยู่ทางทิศตะวันออก ของเมืองสาวัตถีเหตุที่พระองค์เสด็จเมืองสาวัตถี สมัยหนึ่งท่านอนาถปิณฑิกะได้เดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ ได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ที่สีตวันและได้บรรลุพระโสดาบัน จึงได้กราบทูลเสด็จเพื่อโปรดชาวเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์ทรงรับด้วยอาการสงบ ท่านอนาถปิณฑิกะทำการค้าเสร็จเดินทางกลับเมืองสาวัตถี รีบหาซื้อที่ดินเพื่อสร้างถวายแด่พระพุทธองค์ หามาหลายแห่งแต่ไม่ถูกใจ มาติดใจในที่ดินของเจ้าชายเชต เห็นว่าไม่ไกลจากจากเมืองสาวัตถี และที่อยู่ของเขามากนัก เป็นสถานที่สงบเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรม จึงได้ติดต่อของซื้อที่ แต่เจ้าชายเชตมิได้เต็มใจที่จะขายให้จึงแกล้งพูดไปว่า ถ้าท่านต้องการก็จอเอาเงินมาปูลาดที่ดินเอาไปก็แล้วกัน

เศรษฐีดีใจมากที่เจ้าชายเชตพูดอย่างนั้น เศรษฐีรีบสั่งให้คนดูแลทรัพย์สมบัติเปิดคลังสมบัติและนำเงินใส่เกวียนไปปูลาดยังที่แห่งนั้น เจ้าชายเห็นท่านอนาถปิณฑิกะผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาทำดังนั้น จึงขอร่วมทำบุญด้วยส่วนหนึ่ง ดั้งนั้นวัดแห่งนี้จึงมีชื่อเชตร่วมอยู่ด้วยว่า “วัดเชตวันมหาวิหาร”

สถานที่ยมกปาฎิหาริย์

สถานที่ยมกปาฎิหาริย์ อยู่ไม่ไกลจากวัดเชตวันมากนัก ปัจจุบันเป็นเนินดินใหญ่สูงประมาณ ๙๐ ฟุต ลักษณะคลายกับเจดีย์ที่บ้านนางสุชาดา รัฐบาลอินเดียได้กันลวดหนามเอาไว้มีประตูเปิดปิดเข้าออก บนยอดสุดมีร่องรอยการขุดค้นและแต่งเติมบางส่วน พวกเราสามารถขึ้นไปชมวิวบนยอดเจดีย์ จะมองเห็นความสวยงามของเมืองสาวัตถีได้อย่างทั่วถึง

ยมก แปลว่า คู่ หรือ สอง ยมกปาฎิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้าเปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระการเบื่องล่าง เป็นต้น

ยมกปาฎิหาริย์ แสดงได้แต่ผู้เดียว คือผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันสาวก และเดียรถีย์ ฤาษีชีไพร แสดงได้ปาฎิหาริย์ธรรมดา เช่น เดินบนน้ำ ดำเดิน เป็นต้น

สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปฎิหาริย์ครั้งนี้ คือที่โคนต้นมะม่วง หรือ คัณฑามพฤกษ์ ในเมืองสาวัตถี มูลเหตุที่ทรงแสดงเนื่องจากพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธเจ้าแข่งแสดงปาฎิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน พวกเดียรถีย์ ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงยมปฎิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วง จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น ทราบว่าบ้านใครสวนใครมีต้นมะม่วงก็ใช้อิทธิพลทางการเงิน ซื้อ แล้วโค่นทำลายหมด แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำลายไม่เหลือ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้

โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุกมาถวาย ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ปรากฎว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพลาด แตกกิ่งก้างสูงขึ้นถึง ๕๐ ศอก ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า “เมื่อทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ แล้ว ทรงเสร็จจำพรรษา ณ ที่ใดก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา”

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

สาวัตถี พุทธจักรไทยในแดนพุทธภูมิ

อริยทัศน์ อินเดีย : ยมกปาฏิหาริย์ ปราบทิฎฐิที่สาวัตถี

 

ขออนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ กับผู้ทำวีดีโอ ลง Youtube

อนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.WatMahabodhi.Com  / http://www.Thamma.Org

 

 

 

 

เสาศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช ป่าอิสิปตนมฤทายวัน

เสาศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช ป่าอิสิปตนมฤทายวัน

พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จยังป่าอิสิปตนมฤทายวัน  เพื่อกราบสักการบูชาสถาน ที่ที่มีความสำคัญต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ปักเสาศิลาจารึกไว้สูงประมาณ ๗๐ ฟุต เสาศิลาจารึก มีลักษณะเป็นมันเลื่อมและเรียบ มีรัศมีต้องตาต้องใจเมื่อได้พบเห็น เสาศิลาอันเป็นเครื่องหมายที่สำคัญยิ่งนี้เป็นการยืนยันว่า สถานที่ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พระอริยสัจจ์เพื่อยังวงล้อแห่งพระธรรมให้หมุนไปนั้นเอง ที่หลักศิลามีการจารึกข้อความเป็นอักษรพราหมณ์มี สิ่งที่สำคัญที่สุดบนยอดเสาศิลาคือ หัวสิงห์ ซึ่งปัจจุบันได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองสารนารถแล้ว และยังอยู่ในสภาพ ที่ดีมาก มีรูปสิงห์โตแกะสลัก ๔ หัว นั่งหันหลังชนกันสภาพเดิมนั้น มีรูปธรรมจักรเอาไว้ด้วย แต่น่าเสียดายว่า รูปธรรมจักรหักหล่น หาเศษได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่สามารถประกอบเข้าเป็นรูปธรรมจักรอยู่ครบทั้ง ๔ ด้านซึ่ง รูปกงล้อๆ ละ ๒๔ ซี่ เท่ากับจำนวนปฎิจจสมุปบาท (เกิด-ดับ)  ในระหว่างรูปธรรมจักรทั้ง ๔ มีรูปสัตว์ ๔ ชนิด คือ ช้าง โค ม้า สิงห์โต หลังจากที่ อินเดียได้รับเอกราชกลับคืนมาจากอังกฤษแล้ว ได้ใช้ตราธรรมจักรนี้เป็นตราแผ่นดิน ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ถูกเก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ รวมทั้งพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากและพระพุทธรูปปางอื่นๆ อีกมากมายเก็บเอาไว้ในที่แห่งนี้

เสาศิลาจารึก

ธรรมราชิกสถูป พาราณสี

ธรรมราชิกสถูป พาราณสี

ธรรมราชิกสถูป พาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ ธรรมราชิกสถูป มีลักษณะเป็นสถูป สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชควบคู่กับเสาศิลาหัวสิงห์ที่เด่น สง่างามที่สุด ซึ่งรัฐบาลอินเดียใช้ตราหัวสิ่งห์เป็นตราเงินสกุลรูปี ส่วนเครื่องหมายสัญลักษณ์ตราธรรมจักรที่อยู่บนหัวสิงห์ ใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน

พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุด

พระสถูปองค์นี้มีความเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบได้ในบริเวณนี้ ลักษณะเดินนั้นเป็นทรง บาตรคว่ำเหมือนธรรมเมกขะสถูป ที่เห็นในปัจจุบัน สร้างด้วยอิฐบล็อกแดง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

แต่น่าเสียดายว่าปัจจุบันนี้เหลืออยู่เพียงแค่ฐานเท่านั้นเอง ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๗ ชาคัด สิงห์ มหาอำมาตย์ของ มหาราช เชตสิงห์ ผู้ครองนครพาราณสี ต้องการอิฐก้อนใหญ่ๆ ไปก่อสร้างเมือง จึงทำลายองค์สถูปใหญ่นี้

ในขณะนั้นได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และได้นำไปลอยในแม่น้ำคงคา ด้วยความปรารถนาดีแท้ๆ เพราะเกรงว่า พระพุทธเจ้าจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ อันเป็นความเชื่อของศาสนาฮินดู ด้วยคิด ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปลอยลงแม่น้ำคงคา ทำให้ข่าวนี้เลื่องลือ ไปทั่วทุกหัวเมือง และได้นำความเศล้า สลดใจ มาสู่พุทธศานิกชน เป็นอย่างมาก

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี ตามที่นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ทาง ศาสนา ได้วินิฉัยเอาไว้ว่า

“เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งแสดงธรรม และเป็นเครื่องหมายแสดงการเสด็จมาอุบัติของพระพุทธเจ้าในอนาคต ซึ่งแปลว่า ที่ตั้งแห่งความเห็นธรรม หรือ มีธรรมเป็นใหญ่”

เมื่อเดือนมกราคา พ.ศ.๒๓๓๗ (ค.ศ.๑๗๙๔) ได้มีการขุดค้นครั้งล่าสุด และได้สร้างสถูปใหม่ขึ้น คือ ธรรมเมกขะสถูป เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ รวมใช้เวลาในการก่อสร้าง ๕๖ ปี มีความสูง ๑๔๓ ฟุต กว้างโดยรอบ ๙๕ ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๗.๕ ฟุต ส่วนพื้นล่างก่อ ด้วยหินอย่างแข็งแรง และแกะเป็นรูปสวัสดิกะอยู่โดยรอบ สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องรอบองค์สถูป มีทั้งหมด ๘ ช่อง แต่ละช่องมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานไว้

จากจดหมาย เหตุของหลวงจีนพระถังชัมจั๋ง ยืนยันว่า เมื่อท่านเดินทางมาบูชาพระสถูปแห่งนี้

“ท่านได้เห็นพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ทุกช่อง มีสถูปใหญ่อยู่ ๔ องค์ และมีวิหารอยู่ ๒ หลัง”

เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๕๗ พันเอกแมคเคนซี นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับ นักโบราณคดีชาวอินเดียหลายคน ลงมือขุดค้นปูชนียสถานที่สำคัญก่อน คือ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง พันเอกแมคเคซี เป็นนักสำรวจคนแรกและได้ทำเครื่องหมายแผนผังเอาไว้ทุกที่ และท่านก็ไม่ได้ปล่อยให้งานการขุดค้นสูญเปล่า

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้มีการขุด สำรวจครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ โดยการนำของท่าน  เซอร์ อเล็กชารเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) นักโบราณคดีชาวอังกฤษคนสำคัญ เป็นหัวหน้า

 

พรรษาแรกมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์

พรรษาแรกมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์

หลังจากเทศนาบิดา มารดา และภรรยาเก่า ของพระยสะให้ชื่นชมโสมมัสแล้วทรงลาเสด็จกลับไปสู่วัดมฤคทายวัน ครั้งนั้น สหายของพระยสะ ทั้ง ๒ คณะ คณะที่อยู่ในเมือง ๔ ท่าน และคณะที่ในชนบท ๕๐ ท่าน ครั้นได้ทราบว่าพระยสะออกบรรพาชา จึงพากันมายังสำนักพระยสะผู้สหาย พระยสะได้นำเพื่อน ทั้งหมดนั้น เข้าไปฝ้าพระทศพล แล้วกราบทูลนิมนต์ให้ประทานพระโอวาท พระบรมโลกนาถ จึงตรัส อนุปุพพิกถา และจตุราริยสัจจ์ ยังสหายของพระยสะ เหล่านั้นให้บรรลุพระโสดาปัตติผล แล้วโปรดประทาน อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมา ครัสโอวาทนุศาสน์ให้สำเร็จพระอรหันต์ทั้งสิ้น ๕๔ องค์ ในพรรษานั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์

ออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าทรงมีดำรัสให้ประชุมสงฆ์ว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย! เราหลุดพ้นแล้วจากบ่วงเครื่องผูกมัดทั้งปวง แม้พวกท่านทุกรูปก็เหมือนกัน ขอพวกท่านจงจาริกไปประกาศพระศาสนาในชนบทต่างๆ เพื่อยังประโยชน์และความสุขให้เกิดแก่คนเป็นอันมาก จงแยกกันไปแห่งละรูป จงแสดงธรรมอันงานในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และงามในที่สุดอันบริสุทธิ์ ที่เราได้ประกาศไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย! คนในโลกนี้ที่มีกิเลสบางเบา แต่มีสติปัญญาที่พอจะฟังธรรมรู้ เรื่องนั้นมีอยู่ แต่เพราะเหตุที่คนเหล่านั้นไม่มีโอกาศที่จะได้ฟังธรรม จึงเสื่อมจากคุณความดีที่จะพึงได้รับ พวกท่านไปกันเถิด แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อประกาศพระศาสนา”

รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พระสาวก ๖๑ รูปจึงแยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนาตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ส่วนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งเคยเป็นที่สถานประทับตรัสรู้ แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จโดยลำพังพระองค์ ไปยังสำนักของนักบวชใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ชฎิลสามพี่น้อง”

 

พระอรหันต์ องค์ที่ ๗ ยสกุลบุตร ปฐมอุบาสกและปฐมอุบาสิกา

พระอรหันต์ องค์ที่ ๗ ยสกุลบุตรและ ปฐมอุบาสกและปฐมอุบาสิกา

ยสบุตรเป็นลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี บิดามารดาสร้างปราสาทเปลี่ยนฤดูให้อยู่ ๓ หลัง แต่ะละหลังมีนางบำเรอเผ้าปรนนิบัติจำนานมาก เที่ยงคืนหนึ่ง ยสกุลบุตร ตื่นขึ้นมาเห็นนางบำเรอนอนสลบไสลด้วยอาการที่น่าเกลียด วิปริตไปต่างๆ นาๆ ก็เกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่ายยสกุลบุตร จึงแอบหนีจากบ้านคนเดียวยามดึกสงัด เดินมุ่งหน้าไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พลางบ่นไปตลอดทางว่า “อุปัททูตัง วะตะ อุปสัคคัง วะตะ” แปลว่า เฮอ วุ่ยวายจริง! เฮอ! อึดอัดขัดข้องจริง! หมายถึง ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ

ขณะนั้นมีเสียงดังตอบออกมาจากชายป่าว่า “โน อุปัททูตัง วะตะ อุปสัคตัง”  (แปลว่าที่มีไม่มีความวุ่นวาย ที่นี่ไม่มีความอึดอัดขัดข้อง) เป็นพระดำรัสตอบ ของพระพุทธเจ้านั้นเอง พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมอยู่ พระพุทธเจ้าตรัส บอกยสกุลบุตรว่า “เชิญเข้ามาที่นี่แล้วนั่งลงเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”

พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกาถา

โปรดก่อน แล้วจึงทรงเทศนาสอน อริยสัจจ์ ๔ และท่านยสกุลบุตร ได้บรรลุโสดปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

และในขณะนั้นบิดาก็ตามมาพบและถวายบังคมพระพุทธเจ้า ด้วยอำนาจอิทธาภิสังขารของ พระสุคต และตั้งใจฟังธรรมเทศนา “อนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ อย่างตั้งใจ และท่านเศรษฐีได้บรรลุโสดาปัตติผล แสดงตนเป็น อุบาสก เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ “เป็นอุบาสกที่กล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นคนแรกในพระพุทธศาสนา”

ฝ่ายยสกุลบุตร ได้สดับพระธรรมเทศนา ซี่งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่เศรษฐีผู้เป็นบิดาเหมือนกับพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงแก่ตน ซ้ำอีกหนึ่งหน จิตก็หลุดพ้นจากสรรพาสวะ เป็นพระอริยบุคคลคือ พระอรหันต์องค์ที่ ๗ ในพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้า เมือทรงทราบว่า ท่านยสะเป็นพระอรหันต์ และเศรษฐีผู้บิดาเป็นพระโสดาบัน จึงทรงคลายอิทธาภิสังขาร เศรษฐีผู้บิดาก็มองเห็นท่านยสะ

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับเศรษฐีว่า “บัดนี้พระยสะได้เป็นพระอรหันต์ชีวิตที่จะกลับไปครองบ้านครองเรือนจึงไม่สมควรอีกต่อไป”

เศรษฐีครั้นได้ทราบจากพระทรงธรรมว่า ยสะบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ มีจิตโสมนัส จึงกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมพระยสะ เป็นปัจฉาสมณะ เพื่อไปฉันภัตตาหารในนิวาศสถานของตน ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับ จึงถวายบังคมลา ทำประทักษิณเบื่องขวากลับไปบ้านของตน

เมื่อเศรษฐีหลีกไป ท่านยสะกุลบุตรก็ได้ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท พระสุคตก็ทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้แก่นยสะ

พอรุ่งเช้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระยสะเป็นปัจฉาสมณะเสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในบ้านท่านเศรษฐี มีมารดา และอดีตภรรยาของพระยสะ พากันมาถวายอภิวาท พระพุทธองค์ทรง ประทับบนวรปัญญัตอาสน์ ทรงตรัส เทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ แก่มารดาและอดีตภรรยาของพระยสะ ให้บรรลุโสดาปัตติผล เป็น ปฐมอุบาสิกา ในโลกก่อนกว่าหญิงอื่น

สัตตมหาสถาน ทั้ง ๗ ในพุทธคยา

ภายในพุทธคยา ประกอบไปด้วย สัตตมหาสถาน ทั้ง ๗ แห่งคือ…

๑.ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 

หลังจากพระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ พระบาทขาววางทับพระบาทซ้าย และพระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ ไปทางต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า

“ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที่”

พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณ

  • ที่หนึ่งในตอนปฐมยาม ญาณที่หนึ่งเรียกว่า บุพเพนิวาสนุสติญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังของตนและของคนอื่น)
  • พอถึงมัชณิณยาม ทรงบรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดถึงความแตกต่างกันที่ เรียกว่า กรรม)
  • พอถึงปัจฉิมยาม ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ อาสวักขยญาณ (หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจ ๔ คือ ความทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์

การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนั้น ทรงมีพระนามใหม่ว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลว่า พระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง)

พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุข อยู่ภายในต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน (คำว่า “เสวยวิมุติสุข” เป็นภาษาที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพันแล้ว เทียบกับภาษาสามัญชนคนมีกิเลศก็คือพักผ่อนภายหลังที่ตรากตรำงานมานั่นเอง)

สัปดาห์ที่ ๒. อนิมิสเจดีย์

อนิมิสเจดีย์ หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับนั่ง เสวยวิมุติสุข ณ บัลลังก์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ ตลอด ๗ วัน เทวดาบางพวกเกิดความปริวิตก ว่า แม้วันนี้ พระสิทธัตถะ ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัย ในบัลลังก์ ด้วยพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ก่อน ประทับนั่งว่า “ถ้าไม่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่เสร็จลุกขั้นจากบัลลังก์นี้

ในวันที่ ๘ ทรงออก จากสมาบัติ ทรงทราบความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศ ครั้งแสดงยมกปาฎิหาริย์กำจัดความสงสัย ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เยื้องจากบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงจ้องดูบัลลังก์ และต้นโพธิ์ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็บ มาถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณเหนือบัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น จึงเรียกว่า อนิมิสเจดีย์

สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์

รัตนจงกรมเจดีย์ พระองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมระหว่างบัลลังก์ที่ประทับนั้งตรัสรู้ กับอนิมิสเจดีย์ ทรงจงกรมบนรัตนจงกรม จากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์”

ปัจจุบัน มีหินแกะสลักทำเป็นดอกบัว วางเรียงกัน เป็นแนวยาวตลอด อยู่ทางด้านซ้ายมือข้างองค์พระมหาเจดีย์ พุทธคยา หรืออยู่ทางทิศเหนือ สร้างเป็นแท่นหินสูง ๑ เมตร มี ๑๙ ดอก

สัปดาห์ที่ ๔ รัตฆรเจดีย์

รัตฆรเจดีย์ เทวดาทั้งหลายเนรมิตเรือนแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎก และพระสมัมตปัฎฐาน อนันตนัย ในพระอภิธรรมปิฎกโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์

ส่วนนักอภิธรรม กล่าวว่า ที่ชื่อว่า เรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนแก้วที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่สถานที่ทรงพิจาณาปกรณ์ทั้ง ๗ เรืยกว่า เรื่อนแก้ว ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองเข้าไว้ในที่นี้ โดยปริยาย จึงควรถือเอาทั้งสองนัย สถานที่นั้นจึงชื่อว่า “รัตฆรเจดีย์”

ลักษณะที่ปรากฎในปัจจุบัน เจดีย์นี้สร้างเป็นทรงสีเหลี่ยมผืนผ้า หลังคาตัดตรง ทาสีเหลือง ด้านหน้ามีประตูทางเข้า หันหน้าไปทางกำแพงด้านทิศเหนือ ภายในมีพระพุทธรูป ทองเหลือขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ประดับอย่างสวยงามประดิษฐานอยู่ (ทั้ง ๔ แห่งนี้อยู่บริเวณใกล้ๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์)

 

สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโครธ

อชปาลนิโครธ พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ใกล้ๆ ต้นโพธิ์ ๔ สัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสร็จออก จากบริเวณควงไม้โพธิ์เสร็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปทางทิศตะวันออก ประทับนั่งพิจารณาพระธรรม และเสวยวิมุติสุขที่ต้นอชปาลนิโครธนั้น

สถานที่แห่งนี้อยู่ด้านทิศตะวันออกของบ้านนางสุชาดา ปัจจุบันเรียกว่า วัดนางสุชาดา (Sujata Templ)

สัปดาห์ที่ ๖ สระมุจลิทน์

สระมุจลิทน์ อยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นสระจำลองมีพระพุทธรูปปรางค์นาคปรกอยู่กลางสระ (ไทยเราแปลต้นมุจลินท์ กันว่าต้นจิก)

เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จมาประทับอยู่ที่นี่ มหาเฆมซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็ตั้งขึ้นทั่วท้องจักรวาล ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ท่านผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อมุจลินท์ ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้เข้าไปวงขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกายของพระพุทธเจ้า ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนประคองอัญชลีถวายบังคมพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์

สระมุจลินท์อยู่ทางทิศใต้ ห่างจากต้นศรีมหาโพธิ์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๕๐๐ เมตร ปัจจุบันบริเวณสระมุจลินท์มีหมู่บ้านอยู่ใกล้ๆ ชาวบ้านนำสัตว์เลี้ยงมาผูกเอาไว้รอบๆ สระน้ำ

สัปดาห์ที่ ๗ ราชยตนะ

สัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุติสุข อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชราประมาณ ๑ กิโลเมตรและห่างจากสถานที่ตรัสรู้ประมาณ ๓ กิโลเมตร ปัจจุบันมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่งและเทวสถานของศาสนาฮินดูไว้ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าเสร็จไปประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า ราชายตนะ อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ราชายตนะ แปลกันว่า ไม้เกต

พระพุทธองค์แสดง ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร (อัญญาโกณฑัญญะ และปัญจวัคคีย์ ๕)

พระพุทธองค์แสดง ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร

ในสัปดาห์ที่ ๖ ถึงที่ ๘ เป็นช่วงที่พระพุทธเจ้าแปรสถานที่ประทับไปมาระหว่างต้นศรีมหาโพธิ์ กับ ต้นอชปาลนิโครธ หรือต้นไทร จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่ตรัสรู้มา พระพุทธเจ้าจึงเสร็จออกจากบริเวณสถานที่ตรัสรู้  เพื่อเสร็จไปยังป่าอิสิปตมนฤคทายวัน (ทุกวันนี้เรียกว่า “สารนาถ” ซื่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี)

ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าเสร็จไปถึงป่าอิสิปตมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกัน ที่ว่านี้ ว่าตามวันเวลาที่ระบุบในหนังสือปฐมสมโพธิว่า…

ขณะนี้พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่ เรื่องที่สนธนากันก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า “นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว ป่านนี้จะประทับอยู่ที่ไหน จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือหาไม่” ทันใดนั้น

เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกญฑัญญะ วัปปะ ภทิทิยะ อัสสซิ และมหามานะ ก็เห็นพระฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล เมื่อเหลียวแลลำแสงพระรัศมี ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสร็จดำเนินมา ทั้ง ๕ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสร็จพระพุทธเจ้า และจะไม่ถวายความเครพ คือจะไม่ถวายบังคม แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจ ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น เพราะต่างก็ลุกขึ้นรับเสร็จ ถวายบังคม และรับบาตรและจีวรด้วย ความเครพอย่างแต่ก่อนเคยทำมา ผิดแต่ว่า กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น ปัญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า “อาวุโส โคดม” พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า “พระองค์ได้ตรัสรู้อมตรธรรมจะนำมากล่าวกับเธอทั้งหลาย คำเช่นนี้เราเคยกล่าวกับท่านในกาลก่อนบ้างหรือไม”

เมื่อปัญจคัคคีย์ได้สติพระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่า “พระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่เสร็จมาที่นี่เพื่อจะแสดงธรรมโปรดนั้นเอง”

พระอรรถกถาพรรณว่า รุ่งขึ้นเป็นวันอาสาฬหปุณณมี (คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง “ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร” ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์พอจบลง ปรากฎว่า

ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลีและมลทินโทษว่า

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา”

พระพุทธองค์ได้ทรงทราบด้วยพุทธญาณว่า บัดนี้ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุพระโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นและเป็นองค์แรกในพระพุทธสาวกของพระองค์ จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ” และจำเดิมแต่นั้นมาคำว่าอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นชื่งของท่าน

ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ครั้งได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงทูลขออุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระพุทธองค์ได้ประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้แก่ท่านอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และทรงจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น

ในวันต่อมา พระพุทธองค์ทรงสอนท่านทั้ง ๔ ที่เหลือนั้น ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า “อนัตตลักขณสูตร”เมื่อจบปรากฎว่า ปัญจวัคคีย์ที่เหลือได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลในอันดับต่อมาและได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระสุคตก็ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาตามในที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อปัญจวัคคีย์ มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นต้น ความเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติ ได้บรรลุพระอหัตผล รวมมีพระอริยบุคคลเกิดขึ้นในโลกทั้งหมด ๖ องค์

เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรงปฎิเสธสิ่งที่คนคือนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน คือ เรื่องทรมานตนให้ลำบาก และการปล่อยชีวิตไปตามความใคร่ ทรงปฎิเสธว่าทั้งสองทางนั้น พระองค์เคยทรงผ่านและทรงทดลองมาแล้ว ไม่ใช่ทางตรัสรู้เลย แล้วทรงแนะนำทางทางสายกลางที่เรืยกว่า “มัชณิมาปฎิปทา” คือปฎิบัติดีปฎิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ที่กล่าวโดยย่อ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

“ขออนุโมทธนา สาธุ พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ และปัญจวัคคีย์ ๕ คือ 

  • ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
  • ท่านพระวัปปะ
  • ท่านพระภัททิยะ
  • ท่านพระอัสสซิ
  • ท่านพระมหามานะ

ประวัติของท่านแต่ละพระองค์ จะกล่าวภายหลัง ท่านเป็นเอกทัคคะ ด้านต่างๆ

ขออนุโมธนา สาธุ สาธุ สาธุ กับทุกท่านที่ได้อ่าน และเกิดความปิติ สาธุ สาธุ สาธุ

History of MahaBodhi Temple India.

History of MahaBodhi Temple India.

ประวัติ วัดพุทธคยา 

dsc04418

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น

สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก

ประวัติ ภาษาไทย

ประวัติ ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ

การทำบุญครั้งนี้มีวัตถุประสงค์

1.ติดตั้งโคมไฟ และหลอดไฟ LED บริเวณ ภายในวัดพุทธคยาฯ

2.ทาสี กำแพง บริเวณ ภายในวัดพุทธคยาฯ

ผลบุญกุศล และการบริจาคทาน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. สัปปุริสทานสูตร

       [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา ๑
ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑
ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร ๑
เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๑
ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล (บังเกิดขึ้น)

ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตรภรรยา ทาส คนใช้
หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆคือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร
จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๐๒๔ – ๔๐๔๑. หน้าที่ ๑๗๕ – ๑๗๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4024&Z=4041&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=148

เอาอานิสงส์แห่งการถวายประทีปเป็นพุทธบูชา มาบอกครับ 

1. ย่อมเป็นผู้รู้คุณของพระรัตนตรัย ทำให้มีศรัทธามั่นคง

2. เป็นผู้มีความเคารพ มีสัมมาคารวะ

3. เป็นผู้มีดวงตาสดใส สวยงาม มองได้ไกล ดวงตาบริสุทธิ์บริบูรณ์

4. ทำให้เป็นผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)

5. มีผิวพรรณผ่องใส มีจิตใจสดชื่นเบิกบาน

6. มีรัศมีกายสว่างไสว มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทในชีวิต

7. ทำให้มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีปฎิภาณว่องไว แตกฉานในสรรพวิชชาทั้งทางโลก และทางธรรม

8. ย่อมไม่ไปเกิดในทุคติ

9. ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย