ปฐมสมโพธิลำดับการเสร็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า “ในพรรษาที่ ๗ (นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามนิยามท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่น ยุคหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่เรียกกันว่า “อรรถกถา” กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธเจ้าเสร็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ มีผู้แปลกันว่า ได้แก่ ต้นทองหลางผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้านผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์”
พระอินทร์ได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสร็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ทรงป่าวประกาศหมู่เทพยดา ให้มาร่วมชุมนุม ฟังธรรมพระพุทธเจ้า
ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีหมื่นโยชน์ เทพเจ้าทั้งปวดได้สดับก็บังเกิดโสมนัสพิศวง ทรงบอกกันต่อ ถึงหมื่นจักรวาล แม้พระนางสิริมหายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควรอุปนิสัยแห่งตน
พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภายหลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าว เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จคือวันออกพรรษา เมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น
ต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า “อจลเจดีย์” เรียกอย่างไทยเราก็ว่า “รอยพระพุทธบาท” ตามตำนานว่าที่นี่เป็นที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้าคือพระอินทร์ ได้เนรมิตบันได ๓ บันไดเป็นที่เสด็จลง คือ บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้วมณี บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา บันไดเงินอยู่ด้านซ้าย สำหรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้าหัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร หมู่เทพที่ตามส่งเสด็จอยู่ทางเบื้องขวา
ท้าวมหาพรหมผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าอยู่เบื้องซ้าย ผู้อุ้มบาตร นำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์ ปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตรถือพิญบรรเลงมาตุลีเทพบุตร ถือพานดอกไม้ทิพย์โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน
คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่าออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำบุญตักบาตรกันในวันนี้ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกการตักบาตรนี้ว่า “ตักบาตรเทโว” ย่อมาจากเทโวโรหณะ แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเอง
วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฎิหาริย์ อีกครั้งหนึ่ง คือขณะที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตร ไปทางทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมโลกก็เปิดมองเห็นโล่ง ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล
วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่า “พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก” โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก
เทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น
มนุษย์โลก หมายถึง โลกมนุษย์
ยมโลก หมายถึงทางเบื้องตำ่ คือนรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก
พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่างโล่งขึ้นไปถึงเทวโลก เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตรลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม
ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดาเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่
คัมภีร์ธรรมบท ที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า “วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน” ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า “ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด” (พุทธภูมิ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า)
พุทธประวัติพระพุทธเจ้า HD ตอน๑๐ โปรดพุทธบิดาและพุทธมารดา uddha HD Thus have I Head
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์