ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี

ธรรมเมกขะสถูป พาราณสี ตามที่นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ทาง ศาสนา ได้วินิฉัยเอาไว้ว่า

“เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งแสดงธรรม และเป็นเครื่องหมายแสดงการเสด็จมาอุบัติของพระพุทธเจ้าในอนาคต ซึ่งแปลว่า ที่ตั้งแห่งความเห็นธรรม หรือ มีธรรมเป็นใหญ่”

เมื่อเดือนมกราคา พ.ศ.๒๓๓๗ (ค.ศ.๑๗๙๔) ได้มีการขุดค้นครั้งล่าสุด และได้สร้างสถูปใหม่ขึ้น คือ ธรรมเมกขะสถูป เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ รวมใช้เวลาในการก่อสร้าง ๕๖ ปี มีความสูง ๑๔๓ ฟุต กว้างโดยรอบ ๙๕ ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๗.๕ ฟุต ส่วนพื้นล่างก่อ ด้วยหินอย่างแข็งแรง และแกะเป็นรูปสวัสดิกะอยู่โดยรอบ สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องรอบองค์สถูป มีทั้งหมด ๘ ช่อง แต่ละช่องมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานไว้

จากจดหมาย เหตุของหลวงจีนพระถังชัมจั๋ง ยืนยันว่า เมื่อท่านเดินทางมาบูชาพระสถูปแห่งนี้

“ท่านได้เห็นพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ทุกช่อง มีสถูปใหญ่อยู่ ๔ องค์ และมีวิหารอยู่ ๒ หลัง”

เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๕๗ พันเอกแมคเคนซี นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับ นักโบราณคดีชาวอินเดียหลายคน ลงมือขุดค้นปูชนียสถานที่สำคัญก่อน คือ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง พันเอกแมคเคซี เป็นนักสำรวจคนแรกและได้ทำเครื่องหมายแผนผังเอาไว้ทุกที่ และท่านก็ไม่ได้ปล่อยให้งานการขุดค้นสูญเปล่า

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้มีการขุด สำรวจครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ โดยการนำของท่าน  เซอร์ อเล็กชารเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) นักโบราณคดีชาวอังกฤษคนสำคัญ เป็นหัวหน้า