ประวัตินางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา ถวายวัดบุพพาราม ถวายผ้าอาบน้ำฝน

ประวัตินางวิสาขา

นางวิสาขา  เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อ ธนญชัย มารดาชื่อว่า สุมนาเทวี และปู่ชื่อ เมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุ อยู่ในวัย ๗ ขวบ เป็นที่รักดุจแก้วตาดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก

เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวนมากกำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้ เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยบถอยู่นั้น เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด ส่วนเมณฑกเศรษฐีเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนตลอดระยะเวลา ๑๕ วัน ที่ประทับอยู่ภัททิยนครนั้น

ตระกูลธนญชัยเศรษฐี ย้ายไปอยู่เมืองสาวัตถี

สมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤท์ มีความเกี่ยวข้องกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากในเมืองสาวัตถี ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากมาย และได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติจำนวนนับไม่ถ้วนอยู่ถึง ๕ ตระกูล ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้งความประสงค์ เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ ไปอยู่เมืองสาวัตถีสักหนึ่งตระกูลพระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า “การโยกย้ายตระกูลใหญ่ๆ เพียงตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด” แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลักจากที่ได้ปรึกษาอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายเดินทางสู่พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล และ

ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธณญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดีอีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้างเมืองลง ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่ “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์

หญิงงามเบญจกัลยาณี

ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงานเบญจกัลลยาณีความงามของสตรี ๕ อย่างคือ

๑.เกสกลฺยาณํ ผมงามคือหญิงผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น

๒.มงฺสกลฺยาณํ เนื้องามคือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี

๓.อฎฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน

๔.ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา

๕. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่ายกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว

บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพรามหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถึลักษณะมาถามว่า หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพรามหณ์ตอบว่า มี จึงส่งพรามหณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่างๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม

พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่างๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมืองสาเกต ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ ขณะที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พวกพราหมณ์ ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึงถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนหญิงอื่นๆ” นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งามได้แก่

๑.พระราชาผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ

๒.บรรพชิตผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์

๓.สตรีผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลายนอกจากจะไม่ดูงานแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุจนเสียโฉมหรือพิการจะทำให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า

๔.ช้างมงคลตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง

พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาณฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกอย่างประการแล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาชาเป็นการหมายหมั้นหมายและกำหนดวันวิวาหมงคล ธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ “มหาลดาปสาธน์” เพื่อมอบให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฎิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่นๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่างๆ รวมทั้งข้าทาสบริวาร และฝูงโคอีก จำนวนมากมายมหาศาลอีกทั้งส่งกฎุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่างๆ ไป เป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย

ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว

ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐี ได้อบรมมารยาทสมบัติของ กุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการเป็นแนวปฎิบัติ คือ

โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง

โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง

โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วแล้วนำมาส่งคืน

โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่ คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่นำส่งคืน

โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืนก็ควรให้

โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามี

โอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวและสามี

โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภคแล้วตนจึงบริโภคภายหลัง

โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอ ว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมืองกองไฟและพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล

โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม

ธนณชัยเศรษฐี ให้เวลาถึง ๔ เดือนในการเตรียมทรัพย์สมบัติเพื่อมอบให้แก่นางวิสาขา สำหรับใช้สอยเมื่อไปอยู่ในตระกูลของสามี เฉพาะเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์เพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลาทำถึง ๔ เดือนเช่นกัน เมื่อถึงกำหนดนางวิสาขาได้ออกเดินทางไปยังตระกูลของสามี พร้อมด้วยข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองของใช้อเนกอนันต์ และโคกระบืออีกมายมายมหาศาลที่บิดาจัดการมอบให้แม้กระนั้น โคกระบือที่อยู่ในคอกยังทำลายคอกวิ่งออกตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก

ทั้งนี้ด้วยอานิสงฆ์แห่งการทำบุญถวายทานที่นางทำไว้ในอดีตชาติ คือในครั้งที่นางวิสาขาเดิมเป็นธิดาของพระกิกิ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ นางได้ถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรเป็นประจำ และทั้งๆ ที่พระภิกษุสามเณรกล่าวว่า “พอแล้วๆ” ก็ยังตรัสว่า “พระคุณเจ้าสิ่งนี้อร่อย สิ่งนี้น่าฉัน” แล้วก็ถวามเพิ่มขึ้นอีก ด้วยอนิสงส์แห่งการถวายเพิ่มนี้ บันดาลให้โคเหล่านั้นแม้จะมีคนห้ามมีคอกกั้นอยู่ก็ยังโดดออกจากคอกวิ่งตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก

เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกูลของสามีแล้วเพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้ำใจเจรจาไพเราะ ให้ความเครพผู้ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐีพ่อของสามีซึ่งมีจิตฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเครพนับถือว่า เป็นพระอรหันต์ และนิมนต์ให้มาบริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขามาไหว้พระอรหันต์และให้มาช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วย

นางวิสาขา ผู้เป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบัน พอได้ยินค่ำว่า อรหันต์ ก็รู้สึกปีติยินดีมายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจจึงกล่าวว่า “ผู้ไม่มีความละอาย เหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้” พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่อยู่ของตนต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอยปรนนิบัติอยู่ใกล้ๆ

ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมาหยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคารเศรษฐี นางวิสาขาทราบดีว่าเศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทำเป็นไม่เห็นนางจึงกล่าวกับพระเถระว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่”

เศรษฐีได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันทีแล้วสั่งให้บริวารมาจับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับนางวิสาขาขอชี้แจงแก่กฎุมพีมาแล้วแจ้งโทษของนางวิสาขาให้ฟัง ซึ่งนางก็แก้ด้วยคำว่า “ที่ดิฉันกล่าวอย่างนั้น หมายถึง มิคารเศรษฐีบิดาของสามีกำลังบริโภคบุญเก่าอยู่ มิใช่บริโภคของบูดเน่าอย่างที่เข้าใจ” กฎุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า “เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด”

พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา

เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคำชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเครือง และกล่าวขอโทษนาง พร้อมทั้งอนุญาติให้นางนิมต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตในเรืองของตน ขณะที่นางวิสาขาจัดถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดา และภิกษุสงฆ์อยู่นั้น ก็ได้ให้คนไปเชิญมิคารเศรษฐีมาร่วมถวายภัตตาหารด้วย แต่เศรษฐีเมื่อมาแล้วไม่กล้าที่ออกไปสู่ที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงแอบนั่นอยู่หลังม่าน

เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาศได้ฟังธรรมด้วยจนจบ และได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลในพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลตั้งแต่นั้น มิคารเศรษฐีได้ออกมาจากหลังม่านแล้วตรงเข้าไปหานางวิสาขาให้ปากดูดถันของลูกสะใภ้ และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า” และตั้งแต่นั้นมานางวิสาขาก็ได้นามว่า “มิคามารดา” คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า “วิสาขามิคารมารดา”

คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา

ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่นๆ หลายประการเช่น

๑.ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขานางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน หลาน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั้นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน

๒.นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะทดลอกกำลังของนาง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นางเห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า “ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาปควรจะรักษาชีวิตช้างไว้ดีกว่า” นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่งวงแล้วเหวี่ยวไปปรากฎว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตรายด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อขจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพากันเชิญนางวิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพิธีต่างๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทานก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฎิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตน ต้องมอบให้ลูกๆ หลานๆ ดำเนินการให้

นางวิสาขาสร้างวัด

โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำจนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่าๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุกๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัดนางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่า “ถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย”

เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริงๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนแล้วนำมาออกขาย ในราคา ๙ โกฎิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง

ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดาและเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดาสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการสร้าง

ภายในวัดประกอบด้วย ๒ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุอาศัย ชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาการก่อสร้างถึง ๙เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้วได้นามว่า พระวิหารบุพพาราม”

นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็น มหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฎฐายิกา ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่างๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวายเป็นของส่วนบุคคลคือแก่พระภิกษุแต่ละองค์ๆ การทำบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ดังคำที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวิหาร คือ วัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวายนั้นด้วยคำว่า “ความปรารภนาใดๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้นๆ ทั้งหมดของเราได้สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้วความปรารถนาเหล่านั้นคือ”

๑.ความปราถนาที่จะ สร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน

๒.ความปราถนาที่จะ ถวายเตียงตั่งฟูกหมอนและเสนาสนภัณฑ์

๓.ความปราถนาที่จะ ถวายสลากภัตเป็นโภชนาทาน

๔.ความปราถนาที่จะ ถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็น จีวรทาน

๕.ความปราถนาที่จะ ถวายเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นเภสัชทาน

ความปราถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสำเร็จครบถ้วนทุกประการสร้างความอิ่มเอิบใจแก่นางยิ่งนักนางจึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขาแล้วต่างก็รู้สึกประหลาดใจไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนางจึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานานพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เคยเห็นนางขับร้องเพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อนเลย แต่วันนี้ นางอยู่ในท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดาบุตรธิดาและหลานๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพำคล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดีของนางคงจะกำเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไรพระเจ้าข้า?”

พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุท้้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลงหรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจหลอก แต่ที่ธิดาของเราเป็นอย่างนั้นก็เพราะความปิติยินดีที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ทุกประการนางจึงเดินเปล่งอุทานออกมาด้วยความอิ่มเอมใจด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก” ดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางในตำแหน่ง “เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา”

ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ

ผู้ที่เป็นเอตทัคคะ

  1. เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งหมด 41 ท่าน เป็นพระอสีติมหาสาวกทั้งหมด
  2. เอตทัคคะ ที่เป็นพระภิกษุณี มีทั้งหมด 13 ท่าน
  3. เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสกมีทั้งหมด 10 ท่าน
  4. เอตทัคคะ ที่เป็นอุบาสิกามีทั้งหมด 10 ท่าน

พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเอตทัคคะ

พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน)
พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงปฏิภาณ (ญาณแจ่มแจ้งในพระพุทธศาสนา)
พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีโรคาพยาธน้อย
พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางผู้สัทธาธิมุต(หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา)
พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุบริษัท
พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบในหมู่ชนทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ
พระขทิรวนิยเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางผู้อรณวิหาร(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา)และทักขิไณยบุคคล
พระพาหิยทารุจีริยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา (ตรัสรู้เร็วพลัน)
พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญาปฏิภาณฉลาดในการผูกเป็นบทบาทคาถา
พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาณสมบัติ
พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นปฐม
พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
พระมหาโกฎฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ฉลาดในเตโชกสิณสมาบัติ
พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ

พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
พระมหาเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
พระมหาอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
พระมหาปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
พระมหานันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ยินดีในฌาน
พระมหาธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
พระมหาโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
พระมหาสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
พระมหาภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
พระมหาภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้)
พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา) เอตทัคคะในฝ่าย ผู้บรรลุมหาภิญญา
พระมหากีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระมหาสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ

ตปุสสะและภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
หัตถกอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
พระเจ้ามหานามะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายปัจจัย ๔ อันประณีต
อุคคคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
อุคคตคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
สูรัมพัฏฐเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง
ชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะในฝ่ายเป็นที่รักของปวงชน
นกุลปิตาคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า
อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ[แก้]

อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ

นางสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต
นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
นางอุตตรา (นันทมาตา) เอตทัคคะในฝ่ายผู้ยินดีในฌาน
นางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายรสอันประณีต
นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) เอตทะคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม
นางนกุลมาตาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

อ้างอิง

  • ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์ , 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), สำนักพิมพ์ธรรมสภา ISBN 974-7276-30-5
  1. กระโดดขึ้น ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 1,433. ISBN 978-616-7073-56-9

ประวัติอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ประวัติอนาถบิณฑิกเศรษฐี

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อ ว่า “สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา เมื่อบิดามารดาของท่านล่วงลับไปแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีแทนให้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั่งประชาชน ทั่วไป เรียกท่านตามลักษณะนิสัยว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งหมายถึง “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา” และได้เรียกกันต่อมาจนบางคนก็ลืมชื่อเดิมของท่านไปเลย ท่านอนาถบิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์ นามว่า “ราชคหกะ” และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้นโดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถบิณฑิกะ นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคฤหเศรษฐีผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและพี่เมียอยู่เป็นประจำ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกเศรษฐี ได้กราบทูลอารธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายเพื่อฉันภัตตาหารที่เรีอนของตนในวันรุ่งขึ้น ราชคหกเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฎิสันถารต้อนรับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศรัยเล็กน้อยเท่านั้นแล้วก็สั่งงานต่อไปแม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ราชคหกเศรษฐี คงจะมีงานบูชายันต์หรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ่งนี้” เมื่อการสั่งการเสร็จ ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสงสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตรที่เรีอนของตนในวันพรุ่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนั้นที่จะได้ยินในโลกนี้

เมื่อราชหคกเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปิติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันทีนั้น แต่ราชคหกเศรษฐียับยั้งไว้ว่า มิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกเศรษฐี ได้ฟัง อนุปุพพิกถา และอริยสัจสี่ จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาประกาศตนเป็น “อุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต

อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวัดถวาย

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสด็จภัตตากิจแล้วก็ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนายังเมืองสาวัตถึ พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวาย พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูลอนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปราบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับกรุงสาวัตถีโดยด่วน

ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุกๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอชื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ที่ต้องการ

ปรากฎว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฎิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฎิเป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฎิ (หนึ่งโกฎิ เท่ากับ ๑๐ ล้านบาท) แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอารามขณะนั้น เจ้าชาติเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูอารามา ดั้งนั้พระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”

เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว

เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่งว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูปไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาลอนาถบิณฑิกเศรษฐีทำบุญโดยทำนองนี้ทั้งให้ทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ

ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฐิซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมือเห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎกายต่อหน้าเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิดแล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะเพิ่มพูนขึ้น เหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่าท่านเป็นใคร “ข้าพเจ้า เป็นเทวดาสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน” “ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่านจงออกไปจากซุ้มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”

เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ้มประตูเรืองของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่ออกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน ๘๐ โกฎิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจบหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้” เทวดาทำตามนั้น

ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไปต้นแบบ การทำบุญอุทิศให้ผู้ตายพุทธบริษัทผู้ใผ่บุญนั้น

“นี่แหละคฤหบดี ธรรมดาบุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตามถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดี ปฎิบัติชอบก็ย่อมเสวยสุขบันเทิงใจทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้ความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทนเมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้มีศรัทธามั่งคงไม่หวั่นไหว ฝั่กใฝ่ในการทำบุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่ง เอกทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายก

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เอกทัคคะ เป็น ผู้เลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายก

Ref. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

อนาถบิณฑิกคหบดีถวายพระเชตวนาราม

[๒๖๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนคร
สาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี
เขตพระนครสาวัตถีนั้น จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระ
ผู้มีพระภาค พร้อมกับภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยใน-
*วันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดี
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณ
กลับไป ฯ
[๒๗๐] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนี-
*ยาหารอันประณีต โดยล่วงราตรีนั้น แล้วสั่งให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระ
ภาคว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค
ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี
ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิก
คหบดี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอัน-
*ประณีตด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตร
แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธ
เจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คหบดี ถ้าเช่นนั้น
เธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา อนาถบิณฑิก
คหบดีรับสนองพระพุทธบัญชาแล้วได้ถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มา
แล้วและยังไม่มา
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วยคาถา
เหล่านี้ ว่าดังนี้:-

คาถาอนุโมทนาวิหารทาน
[๒๗๑]	วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อนและเนื้อร้าย นอกจากนั้นป้องกันงู
        และยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้น วิหารยังป้อง-
        *กันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อ
        หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง
        พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล
        คนผู้ฉลาดเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์
        ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตอยู่ในวิหารเถิด อนึ่ง พึงมีน้ำใจเลื่อมใส
        ถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะอันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก
        เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรม อันเป็นเครื่อง
        บรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา อันเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ
        ปรินิพพานในโลกนี้
        
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา อนาถบิณฑิกคหบดีด้วยพระ
คาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป ฯ

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 2

 

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 3

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี 4

พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี

อนาถบิณฑิกเศรษฐี

ขออนุโมธนา ผลบุญกุศล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ได้สร้างวัดเชตวนาราม และทำบุญกุศลทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ ตลอดกาลอนาถบิณฑิกเศรษฐี สาธุ สาธุ สาธุ